หูปลาช่อน


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Acalypha wilkesiana Mull. Arg.
ชื่อวงศ์EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่นใบเงิน โพเงิน โพด่าง โพแดง โพทอง โพสาย แสงทอง หูกระต่าย
ลักษณะวิสัย:ไม้พุ่มขนาดเล็ก
ต้นลำต้นสีน้ำตาล ตั้งตรง มีขนนุ่ม
ใบใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบมีรูปร่างหลายแบบทั้งเเบบใบรูปกลม รูปไข่ รูปรีหรือรูปหัวใจ กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-14 ซม. ปลายใบมนหรือแหลมเรียวยาวคล้ายหาง โคนใบเว้า ขอบใบหยักหรือจักแบบฟันเลื่อย แผ่นใบมีหลายสีแล้วแต่พันธุ์ เข่น สีเหลืองอ่อน น้ำตาลแดง หรือมีจุดประสีต่าง ๆ
ดอกสีขมพู ออกเป็นข่อแบบช่อเชิงลดที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งขึ้น ดอกย่อยมีขนาดเล็ก โคนกลีบดอก เชื่อมกันเป็นหลอด
ผลเมื่อผลแห้งจะแตก
การกระจายพันธุ์การปักชำ
ประโยชน์ปลูกเป็นกลุ่มประดับสวน ปลูกเป็นรั้ว ริมถนน ทางเดิน ตัดเเต่งทรงพุ่ม ปลูกริมทะเลได้ ใบมีสรรพคุณใช้คั้นหยอดแก้เจ็บตา แก้เจ็บหู ดอกใช้สมานแผล ห้ามเลือด

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

คลังภาพ

ต้น
ใบ
ดอก

รายการอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558, จาก http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Shrubs/หูปลาช่อน.html
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.