พุทรา


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Ziziphus mauritiana Lam.
ชื่อวงศ์RHAMNACEAE
ชื่ออื่นมะตันหลวง มะทอง มะตอง มะตันตน หมากทัน
ลักษณะวิสัย:ไมยืนตนขนาดกลาง สูง 5-10 ม.
ต้นเปลือกลำตนมีรองเล็ก ๆ ตามยาวลําตน ยอดอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย บริเวณขอกิ่งมีหนาม 2 อัน เจริญมาจากหูใบ ตนแก่สีเทา-น้ำตาล
ใบใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ กานใบ ยาว 5-10 มม. โคนก้านใบมีหูใบ 2 อัน รูปสามเหลี่ยม เมื่อใบกางเต็มที่หูใบเปลี่ยนเป็นหนาม หนามโคงกลับ (recurved) หนามยาว 3-8 มม. ใบรูปไขหรือรูปรีโคนใบมนหรือ Oblique ปลายใบมนหรือมีติ่งแหลมเล็ก ขอบใบเรียบ ผิวใบมีขน
ดอกดอกชอ cymose เกิดที่ซอกใบ ชอละ 3-21 ดอก ก้านช่อดอกยาว 2-10 มม. กานดอกยอยยาว 3-8 มม. เสนผานศูนย์กลางดอกบาน 5-6 มม.กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว โคน กลบติดกันปลายแยกเปน 5 แฉกแตละแฉกรูปไข่ปลายแหลม กวาง 1-1.5 มม. 1.5-2 มม.
ผลผลสดแบบ drupe รูปกลมหรือรูปไข เสนผาศูนย์กลางผล 1-2 ซม. เมล็ดจํานวน 1 เมล็ด รูปรางกลมเสนผาศูนย์กลาง 0.5-1 ซม. เมื่อสุกสีเหลืองกินไดบางชนิดผลกลมปลายแหลมคลายผลละมุดไทย
รสรสหวานสนิท บางชนิดก็เปรี้ยวและฝาดโดยมากที่เกิดเองในป่ามีรสเปรี้ยว
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง
ประโยชน์ผลไมที่มีรสหวาน รับประทานสด นํามาทําน้ำผลไม และผลไม้ตากแห้ง ไม้มงคล ปลูกไว้ทางทิศตะวนตก (ประจิม) สวนใหญนิยมปลูกคูกับมะยม คาดวาคงเปนเพราะผูคนจะไดนิยมไมสรางซา เปลือกตน ใบ รสฝาดอมเปรี้ยวแกอาการจุกเสียด แกทองอืด ทองเฟอ
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารผล

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา 30280

คลังภาพ

ใบ
ดอก
ผล

รายการอ้างอิง

  1. พุดทรา. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://bot.swu.ac.th/upload/meattree_document/1229062493.pdf หนูเดือน เมืองแสน...[และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.