มะขามเทศ


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Pithecellobium dulce (Roxb.) Benth.
ชื่อวงศ์FABACEAE (LEGUMINOSAE-MINOSOIDEAE)
ชื่ออื่นมะขามข้อง (แพร่) มะขามเทศ (ภาคกลาง)
ลักษณะวิสัย:ไม้ต้นขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ สูง 8-10 ม.
ต้นเปลือกเรียบและมีหนามลำต้นสีเทาแกมขาวหรือเทาดำ ในตำแหน่งรอยก้านใบ (leaf scar) ลำต้นสีเทาแกมขาวหรือเทาดำ
ใบใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกแบบเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่กลับหรือรูปรู ฐานใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ
ดอกออกเป็นช่อ แบบช่อกระจุกแน่นทรงกลม เกิดที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีเขียวแกมขาว ติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายกลีบมน เกสรเพศเมีย 1 อัน
ผลแบบฝัก ทรงกระบอกมีรอยคอดตามแนวสันและเปลือกนูนตามจำนวนเมล็ด ผลขดเป็นวงหรือเป็นเกลียว ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีแดง เนื้อผลเมื่อแก่จัดสีขมพูหรือสีแดง เมล็ดสีดำมันคล้ายฟองน้ำ
รสหวาน ฝาด
การขยายพันธุ์การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง
ประโยชน์เปลือก ต้มเอาน้ำใช้ล้างบาดแผลสด ช่วยสนามแผล ห้ามเลือด หรือดื่มแก้อาการท้องร่วงท้องเสีย และน้ำมีรสฝาดนำมาย้อม แห อวน เนื้อมะขามเทศรับประทานได้
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารผล

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. หนูเดือน เมืองแสน...[และคนอื่นๆ]. (2557). พรรณไม้ใน มทส.. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.