ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อวงศ์: PIPERACEAE
ชื่ออื่น: ผักปูนา พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) ชาพลู ช้าพลู (ภาคกลาง) ผักแค ผักปูลิง ผักนางเลิด ผักอีเลิด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นมวา (ภาคใต้)
ลักษณะวิสัย: พืชล้มลุกขนาดเล็ก
- ต้น สููง 30-80 เซนติเมตร เป็นเถาทอดเลื้อยอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ลำต้นแบ่งเป็นข้อ ตามข้อมีรากช่วยในการยึดเกาะ และแตกหน่อใหม่ตรงข้อ
- ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวสดเป็นมัน คล้ายกันกับใบพลูที่ใช้เคี้ยวกินกับหมาก ฐานใบกว้าง ปลายใบแหลมคล้ายรูปหัวใจหรือใบโพธิ์เล็กน้อย เห็นเส้นใบชัดเจน ใบมีกลิ่นฉุน มีรสเผ็ดเล็กน้อย
- ดอก ออกเป็นช่อ ดอกออกที่ซอกใบ ไม่มีก้านดอก รูปทรงกระบอก ดอกสีขาวขนาดเล็กอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก และเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไม่มีกลีบดอก ดอกแยกเพศ
- ผล เป็นผลรวมแบบเบอรรี่ รูปทรงกระบอก เมล็ดขนาดเล็ก กลม อัดแน่นอยู่บนแกน
การขยายพันธุ์: การแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:
- ใบอ่อนและยอดอ่อนสด ให้ห่อเป็นเมี่ยงคำ ซอยใส่แกงคั่วหอยขม แกงคั่วปลาดุก และแกงคั่วหอยแครง ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และเป็นส่วนผสมแกงแค คั่วแค แกงหน่อไม้ แกงปลี
- ราก ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง ต้น ขับเสมหะในทรวงอก
- ใบ มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก
- ดอก ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
พืช
สมุนไพร, ไม้ประดับ
ที่อยู่: | ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 |