ชื่อวิทยาศาสตร์ | Azadirachta indica A. Juss. Var. siamensis Valeton |
ชื่อวงศ์ | MELIACEAE |
ชื่ออื่น | กะเดา (ภาคใต้) จะตัง (ส่วย) สะเดา (ภาคกลาง เชียงใหม่) สะเลียม (ภาคเหนือ อุตรดิตถ์) |
ลักษณะวิสัย: | ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-15 ม. ทุกส่วนมีรสขม ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำตาลแดง |
ต้น | ต้นสีน้ำตาลเทาหรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องตามยาว |
ใบ | ใบประกอบแบบขนนก เรียงแบบสลับ ใบย่อม รูปใบหอกปลายสอบ ฐานใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อย |
ดอก | ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งพร้อมใบอ่อน ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ช่วงออกดอกกุมภาพันธ์-พฤษภาคม |
ผล | ผลสด รูปกลมรี มีเมล็ดเดี่ยว แข็ง |
รส | ขม |
การขยายพันธุ์ | การเพาะเมล็ด |
การใช้ประโยชน์: | |
ด้านสมุนไพร | ใบอ่อน รสขม แก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย พุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ เปลือกต้น ต้มกับน้ำดื่มแก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้กระษัย ต้มแก้ทองเดิน ใช้แก้บิดมูกเลือด ใบและก้านอ่อน แก้ไข้ทุกชนิด แก่น รสขมฝาดเย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ไข้จับสั่น ไข้ตัวร้อน บำรุงโลหิต เปลือกราก แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนัง ดอก รสขม ช่อดอกอ่อนนิยมใช้เป็นอาหาร และมีฤิทธ์แก้พิษโลหิต พิษกำเดา แก้ริดสีดวง บำรุงธาตุ ผลอ่อน รสขม ใช้เป็นยาถ่ายะยาธิ รักษาริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ ผลแก่ รสขมปร่า บำรุงหัวใจให้เต้นปกติ เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ เมล็ดและใบ มีสาร Azdirachtin ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าแมลงได้ผลดี |
ด้านการแปรรูป | เนื้อไม้ มีสีน้ำตาลปนแดง นิยมใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน พานท้ายปืน เครื่องมือทางการเกษตรกรรม หีบใส่เสื้อผ้า |
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร | ดอก ใบ |
พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เกษตรกรรม