หมากผู้หมากเมีย


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Cordyline fruticosa (L.) Goeppert
ชื่อวงศ์AGAVACEAE
ชื่ออื่นหมากผู้ มะผู้มะเมีย
ลักษณะวิสัย:ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-3 ม.
ต้นต้นตั้งตรงมีขนาดเล็กกลม มีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน
ใบใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับแตกออกตามข้อของลำต้นซ้อนกันถี่ ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-10 ซม. ยาว 20-50 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบใบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ แผ่นใบเป็นลอนคลื่นเล็กน้อยและมีสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ เช่น สีเขียวล้วน แดงล้วน เขียวแถบเหลือง หรือเขียวแถบแดง
ดอกสีขาวอมเหลืองหรือม่วงแดง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงจากส่วนยอดของลำต้น ช่อละ 5-10 ดอก ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
ผลผลสดแบบมีเนื้อ ทรงกลม มีขนาดประมาณ 8 มิลลิเมตร ผลสุกสีแดง มีหลายเมล็ด
การขยายพันธุ์การปักชำ
ประโยชน์ปลูกลงกระถางประดับในอาคาร หรือปลูกในสวนที่มีแสงปาน-กลางถึงรำไรเพื่อเป็นจุดเด่นสวนหย่อม ริมน้ำตก ลำธาร ปลูกริมทะเลได้ ใบ ใช้ขับพิษ แก้ไข้หวัด แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

รายการอ้างอิง

  1. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Shrubs/หมากผู้หมากเมีย.html เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.