ปาล์มสิบสองปันนา


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์  Phoenix roebelenii

วงศ์  PALMAE

ถิ่นกำเนิด  ภาคเหนือของไทยและประเทศในแถบอินโดจีน

ลักษณะวิสัย  เป็นปาล์มในสกุลอินทผลัม ต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลูกผสม ตอนยอดมีกาบ  สูงประมาณ 2 ม.

ต้น  ลำต้นเดี่ยวโดด ๆ

ใบ  ติดคลุมลำต้น ใบรูปขนนก ทางใบโค้งลง ตอนโคนใบเป็นหนามแหลม สีเขียวอ่อนใบสีเขียวแก่ เป็นมัน ใต้ใบสีเขียวอ่อนปนเทา คล้ายมีผงแป้งคลุมอยู่

ดอก  ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ยาวประมาณ 1 ม. ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น ดอกเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด

ผล  กลมรี เล็ก ๆ ขนาดเมล็ดถั่วแดง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ เมล็ด กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ

แสงแดด กึ่งแดดถึงแดดจัด

อุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส

ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง

น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง

การดูแล ต้องการแสงแดด ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง ดินที่ปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ทนต่อแมลงได้ดี

การปลูก ชอบดินร่วนซุยที่มีอินทรีวัตถุ ใช้ดิน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์  ปลูกเป็นไม้ประดับ

อัตราการคายความชื้น มาก

อัตราการดูดสารพิษ มาก

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ, พืชกับภูมิอากาศ, พืชลดมลพิษ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. ปาล์มสิบสองปันนา.  สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563, จาก https://www.panmai.com/Pollution/Pollution_04.shtml
  2. พรรณไม้งามที่วังตะไคร้. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://www.wangtakrai.com/flora/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/226
  3. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.