จั๋งไทย


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Rhapis excelsa (Thunb.) Rehder
ชื่อวงศ์PALMAE
ชื่ออื่นจั๋งปราจีน
ลักษณะวิสัย:ปาล์มขนาดเล็ก 
ต้นลำต้นมีขนาดเท่าหัวแม่มือหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย เป็นลำคล้ายลำไผ่ มีความแข็งแรง ลำต้นสูง 3-5 ม.
ใบใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปใบพัดและมีใบย่อยแตกออกจากกันเป็นแฉกลึกใบ 1 ใบจะมีใบย่อยประมาณ 5-10 ใบ ก้านใบเล็ก มีสีเขียวและแข็งยาวประมาณ 12 นิ้ว
ดอกดอกช่อ ออกตามยอดระหว่างทางใบ เป็นดอกไม็สมบูรณ์เพศ แบบแยกกันอยู่คนละต้น ดอกเพศเมียจะมีผลติด เป็นพวงสั้น ๆ
ผลผลมีลักษณะเป็นพวง ประกอบด้วยผลกลมเล็ก ๆ ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนอมขาว สีชมพูอ่อน และแก่จัดมีสีคล้ำ มีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ถิ่นกำเนิดไทยจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ (การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีรูปทรงสวยงามกว่า)
ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับ

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ, พืชกับภูมิอากาศ, พืชลดมลพิษ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. ไม้ประดับดูดสารพิษ. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://www.panmai.com/Pollution/Pollution_14.shtml
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.