เอื้องหมายนาดอกเทียน


รายละเอียด

ชื่อวิทยาศาสตร์Costus speciosus SM.
ชื่อวงศ์COSTACEAE
ชื่ออื่นเอื้องหมายนา (ทั่วไป) ชู้ไลบ้อง ชูเลโบ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เอื้องช้าง (นครศรีธรรมราช) เอื้องต้น (ยะลา) เอื้องเพ็ดม้า (ภาคกลาง) เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์ (ภาคใต้)
ลักษณะวิสัย:ไม้ล้มลุก อวบน้ำ ทรงพุ่มรูปกรวย
ต้นลำต้นใต้ดิน เปลือกลำต้นเรียบ กาบใบปิดโอบรอบลำต้น มีสีแดงหรือสีน้ำตาลแดง
ใบใบเดี่ยวสีเขียว ใบออกเวียนเรียงสลับ ปลายใบแหลม รูปร่างกึ่งรูปขอบขนานกึ่งรูปหอก ใบกว้าง 6-8 ซม. ยาว 20.5-29.6 ซม. ใต้ใบมีขนละเอียดสีขาวคล้ายกำมะหยี่ โคนใบแผ่เป็นกาบสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดงหุ้มลำต้น
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อดอกตั้งตรง ดอกตูมจะมีกาบสีแดงคล้ำหุ้มอยู่ ดอกติดกันแน่น ดอกย่อยเป็นรูปกรวยสีขาวมี 3 กลีบ กลีบหนึ่งมีขนาดโตและกว้างเป็นจะงอย
ผลเมื่อสุกจะเป็นรูปไข่มีสีแดงสด เมล็ดมีสีดำ ผลแห้งแตกได้
การขยายพันธุ์การแยกกอ และการเพาะเมล็ด
ประโยชน์ปลูกเป็นไม้ประดับ เหง้าตำพอกบริเวณสะดือโรคท้องมาน ในเหง้ามีสาร Diosgenin ซึ่งมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ยาสเตียรอยด์บางชนิด

หัวเรื่อง

พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

หมวดหมู่

เกษตรกรรม

คำสำคัญ

ไม้ประดับ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000

รายการอ้างอิง

  1. เอื้องหมายนาดอกเทียน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฏาคม 2558, จาก http://leichon.wordpress.com/malay-ginger-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99/
  2. เอื้อมพร วีสมหมาย และทยา เจนจิตติกุล. (2544). พฤกษาพัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอช.เอน กรุ๊ป.