ประวัติ
เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2477 อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี อาศัยอยู่แถวตลาดน้ำราชบุรี พออายุได้ประมาณ 6 ปี ได้ย้ายมาอาศัยอยู่แถวตลาดน้ำอัมพวา
บิดาชื่อ นายลี้ รัชนีกร มารดาชื่อ นางทองย้อย รัชนีกร
คู่สมรส นางศิริพร รัชนีกร (สกุลเดิม เชียงวานิช) มีบุตร 4 คน ชาย 3 คน และหญิง 1 คน
การศึกษา
- พ.ศ. 2496 ประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
- พ.ศ. 2498 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิจิตร์ศิลป์ โรงเรียนเพาะช่างกรุงเทพฯ
- พ.ศ. 2503 ปริญญาตรีศิลปบัณฑิต (จิตรกรรม) มหาวิทยาลัยศิลปากร
การทํางาน
- พ.ศ. 2503 ศิลปินอิสระ
- พ.ศ. 2504 อาจารย์ประจําวิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พ.ศ. 2509 หัวหน้าแผนกวิชาศิลปกรรม คณะวิชาออกแบบ วิทยาลัยเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- พ.ศ. 2518 อาจารย์ 1 ระดับ 5 หัวหน้าแผนกวิชาศิลปกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะการศึกษา วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2524 อาจารย์ 2 ระดับ 6 หัวหน้าแผนกวิชาศิลปกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวะศึกษา วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2529 หัวหน้าคณะทํางานโครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรม วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2530 หัวหน้าคณะทํางานโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2533 หัวหน้าคณะทํางานสร้างหุ่นจําลองปราสาทเขาพนมรุ้ง เพื่อรวมแสดงในงานนิทรรศการราชมงคล ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- พ.ศ. 2535 หัวหน้าคณะทํางานโครงการจัดสร้างประติมากรรมสาธารณะวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2536 เป็นผู้ออกแบบและตกแต่งภายในพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์สถานท้าวสุรนารี จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2537 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิคณะอนุกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2538 อาจารย์ 2 ระดับ 7 หัวหน้าคณะวิชาออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา และเกษียณอายุราชการ
- พ.ศ. 2550 ก่อตั้งหอศิลป์ทวี หอศิลป์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดแสดงผลงานศิลป์ในประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วยผลงาน ด้านจิตรกรรม ด้านประติมากรรม ด้านสื่อผสม และด้านเทคนิค นอกจากจะจัดแสดงผลงานดังกล่าวแล้วยังมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา อาทิ การประกวดวาดภาพ การจัดเสวนา หรือ การบรรยายทางศิลปะ และมีอาคารเล็กที่จัดแสดงผลงานเส้นเทคนิคผสมชั้นบนเป็นห้องสมุดที่มีหนังสือศิลปะ
ปัจจุบัน
เป็นศิลปินอาวุโสที่ทุ่มเทในการสร้างสรรคฺผลงานศิลปินกรรมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 โดยในการสร้างสรรค์ผลการด้านจิตรกรรมนั้น ระยะแรกได้แสดงออกให้เห็นความงามของธรรมชาติที่ผสมผสานความคิด จนเกิดรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะตัว และต่อมาได้เสนอภาพสะท้อนภาวะของสังคม วิถีชีวิต ความเชื่อ ความเป็นท้องถิ่น และเรื่องราวสะเทือนใจที่มีต่อประชาชน โดยเสนอทัศนะต่อสังคมให้ตระหนักถึงความยุติธรรม และความจริงของมนุษย์ ที่จะมอบให้แแก่กันและกัน ในกระบวนการแสดงออกยังได้เอาวัสดุพื้นบ้านอีสานมาพัฒนาสู่การสร้างสรรค์ในระดับสากล นอกจากนั้นยังเป็นผู้เผยแพร่ความรู้ทางท้ศนศิลป์แก่นักศึกษาศิลปะในฐานะอาจารย์ตั้งแต่รับราชการจนกระเกษียณอายุ อีกทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกการสร้างงานเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน นับว่าผลงานศิลปะ และงานวิชาการทางศิลปะต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติเป็นอย่างมาก เป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ปัจจุบันสร้างสรรค์ผลงานอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา และเป็น
- กรรมการดําเนินงานจัดตั้งหอศิลปและวัฒนธรรมนครราชสีมา
- กรรมการที่ปรึกษาศูนย์ศิลปวัฒนธรรม จ.นครราชสีมา
- กรรมการที่ปรึกษา พิพิธภัณฑ์สถานวัดสุทธจินดา กรมศิลปากร
รางวัลและเกียรติคุณ
- พ.ศ. 2502 รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 9
- พ.ศ. 2503 รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 10
- รางวัลเกียรตินิยม อันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11
- พ.ศ. 2504 รางวัลเกียรตินิยม อันดับที่ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม จากการแสดงศิลปกรรมแหงชาติ ครั้งที่ 12
- พ.ศ. 2544 ศิลปินดีเด่น จ.นครราชสีมา และศิลปินยอดเยี่ยม "ทุนสร้างสรรค์ศิลป์ พีระศรี" ประจําปี 2544
- พ.ศ. 2545 รับรางวัลเชิดชูเกียรติรางวัลมนัส เศียรสิงห์ "แดง" สาขาทัศนศิลป์ดีเด่น ด้านสันติภาพ ประชาธิปไตยและความเป็นธรรม
บุคคลสำคัญ
บุคคล
ศิลปินไทย