ประวัติ
วันเดือนปีเกิด วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2458-วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 สิริอายุได้ 80 ปี 7 เดือน 1 วัน
สถานที่เกิด กองพลที่ 6 จ.นครสวรค์
บิดา ร้อยเอกหลวงจบ พลรักษ์ (โต๊ะ บุณยากร) มารดา นางจบ พลรักษ์ (เขียว บุณยากร)
คู่สมรส นางสาวกองสิน ปักธงชัย
บุตร จำนวน 11 คน นายดุสิต, นางเมตตา ลิ้มพงษา, นายตระการ นายสันติภาพ เด็กหญิงป้อม (ถึงแก่กรรม) เด็กชายสันติสุข (ถึงแก่กรรม) นายสุขสันต์, นางนิรมล เครื่องประดิษฐ์, นางสาวมัณฑนา, เด็กหญิงงอน (ถึงแก่กรรม) และนางสาวเจน บุณยากร
การศึกษา
- พ.ศ. 2461 ชั้นอนุบาล โรงเรียนอนุบาลมิชชั่นนารี จ.นครศรีธรรมราช
- พ.ศ. 2465 ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนประจำ จ.นครศรีธรรมราช
- พ.ศ. 2466-69 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประจำ จ.ลพบุรี เนื่องจากย้ายตามบิดาที่ไปรับราชการที่ จ.ลพบุรี
- พ.ศ. 2470 ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดบพิตรพิมุข
- พ.ศ. 2478 ชั้นมัธยมศึกษา 8 โรงเรียนประจำพุทธมณฑลนครราชสีมา "ราชสีมาวิทยาลัย"
- พ.ศ. 2479 โรงเรียนฝึกหัดครูนครราชสีมา อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา
- พ.ศ. 2479 สอบได้ประกาศนียบัตรประโยคครูประถม (ป.ป.)
อาชีพ
- ข้าราชการครู
การทำงาน
- พ.ศ. 2480-2483 ครูประชาบาลช่วยงานราชการที่แผนกธรรมการอำเภอเมืองนครราชสีมา
- พ.ศ. 2483-2487 ครูใหญ่โรงเรียนศิริวิทยากร พร้อมทั้งสอนวิชาพลศึกษา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และนักฟุตบอลทีมโรงเรียนศิริวิทยากร (หลังจากนั้นลาออกจากโรงเรียนศิริวิทยากร และไปซื้อกิจการโรงเรียนประสาทวิทย์วัฒนา โดยในปี พ.ศ. 2489 เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนดุสิตวิทยาลัย ตามชื่อบุตรชายคนโต ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนชุณหะวัณวิทยานุสรณ์ ตามนามสกุลจอมพลผิน ชุณหะวัณ เนื่องจากเคยได้รับความอนุเคราะห์ และโรงเรียนแห่งนี้ได้ยุบและเลิกกิจการในปี พ.ศ. 2527)
แนวคิด/ผลงาน/กิจกรรม
- พ.ศ. 2498 ได้รับเลือกตั้งเป็นสามชิกสภาจังหวัดนครราชสีมา ติดต่อกัน 4 สมัย จนถึง พ.ศ. 2516
- พ.ศ. 2502 ผู้แทนผู้กำกับลูกเสือใน 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ 10 ณ ประเทศฟิลิปปินส์
- พ.ศ. 2503 ได้ร่วมเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาท้าวสุรนารี นำดอกผลจากเงินทุนในการจัดงานฉลองอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา ของจังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2505 ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมบาสเกตบอล จังหวัดนครราชสีมา จนได้รับพระราชทานโล่รางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นรางวัลสำหรับการแข่งขันชิงชนเลิศในระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 4 โล่
- พ.ศ. 2507 ได้ร่วมกับกองตำรวจดับเพลิง จัดอบรมลูกเสือมูลนิธิราชประนุเคราะห์ (ลูกเสือบรรจราจร) เป็นครั้งแรกของจังหวัดนครราชสีมา และอบรมรุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2509
- พ.ศ. 2510 ได้ร่วมกับกองตำรวจดับเพลิงจัดอบรมลูกเสือมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ (ลูกเสือบรรเทาสาธารณภัย) เป็นแห่งแรกในภูมิภาคที่วิทยาลัยครูนครราชสีมา
- พ.ศ. 2517 ผู้แทน 1 ใน 2 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนแห่งประเทศไทย ไปศึกษาดูงานด้านมัธยมศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น ตามโครงการแลกเปลี่ยนครูมัธยมระหว่างไทย-ญี่ปุ่น
- กรรมการมูลนิธิและองค์กรต่าง ๆ เช่น มูลนิธิราชสีมาประชานุเคราะห์และมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ประจำจังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิช่วยคนโรคเรื้อนจังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น
รางวัลเกียรติยศ
- เหรียญลูกเสือสดุดี
- เหรียญกาชาดสรรเสริญ ชั้นที่ 5
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
บุคคลสำคัญ