ประวัติความเป็นมา
สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2517 ลักษณะเหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสสร้างกุฏิวัดสระแก้ว อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อคูณครึ่งองค์
ด้านบนเขียนว่า “หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ” ด้านล่างเขียนว่า "วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา"
ตรงสังฆาฏิด้านหน้าตอกโค้ด "ปรธ" ภายในวงกลม เป็นตัวย่อมาจากคำว่า "ปริสุทโธ" ซึ่งเป็นฉายาของท่าน
ด้านหลัง มีอักขระยันต์อยู่ตรงกลาง มีตัวอักษรเขียนว่า "ที่ระลึกสร้างกุฏิสงฆ์วัดสระแก้ว อ.เมือง จ.นครราชสีมา"
ด้านล่างมีจุดคั่น 2 จุด เขียนว่า "รุ่นพิเศษ ๔ ต.ค. ๒๕๑๗" เหรียญรุ่นนี้แกะบล็อกได้เหมือนท่านที่สุด และเป็นเหรียญที่มีประสบการณ์เล่าขานกันมากมาย มี 2 เนื้อ คือ
1. เนื้อนวโลหะ สร้าง 2,500 เหรียญ (รอยตัดจะดูทื่อกว่าเนื้อทองแดง)
2. เนื้อทองแดง สร้าง 99,999 เหรียญ มีทั้งแบบมีรอยจาร และไม่มีรอยจาร
3. สำหรับเหรียญเนื้อทองแดงนี้มีการแยกบล็อกได้หลายบล็อก เท่าที่พบเห็น คือ
3.1 บล็อกนวโลหะไหล่จุด (นิยมสุด) เป็นบล็อกเดียวกับ เหรียญเนื้อนวโลหะ
3.2 บล็อกนวโลหะหูขีด มีตำหนิเช่นเดียวกับ "บล็อกนวโลหะไหล่จุด" แต่ที่หูด้านซ้ายของหลวงพ่อตรงด้านล่าง จะมีขีดอยู่ 1 ขีด
3.3 บล็อก 5 แตก หรือ บล็อกประสบการณ์ ด้านหลังตรงคำว่า พ.ศ. ๒๕๑๕ ตัวเลข ๕ จะมีเส้นแตกพาดผ่านในลักษณะบนลงล่าง
3.4 บล็อกหูขีด บริเวณหูด้านซ้ายของหลวงพ่อตรงด้านล่างจะมีขีดอยู่ 1 ขีด
3.5 บล็อกสายฝน หรือ บล็อกคอขีด
3.6 บล็อก "คูณ" มีขีด ตรงคำว่า "หลวงพ่อคูณ" ที่ สระอู จะมีขีดเป็นเส้นวิ่งออกมา
3.7 บล็อกอมหมาก บริเวณปากหลวงพ่อจะมีก้อนนูนอยู่ในปาก มีทั้งก้อนใหญ่และก้อนเล็ก
3.8 บล็อกสังฆาฏิมีเส้น ที่สังฆาฏิหลวงพ่อจะมีเส้นเล็ก ๆ วิ่งพาดไปพาดมาจำนวนหลายเส้น
3.9 บล็อกธรรมดา (หน้าเกลี้ยง) หรือที่เรียกว่า "บล็อกแก้มขวามีเส้น"
พระเครื่องเมืองนครราชสีมา พระเทพวิทยาคม (คูณ ปริสุทฺโธ)