ประวัติความเป็นมา บ้านด่านเกวียน ในอดีตเป็นชุมชนเก่าแก่ของที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ที่ไหลผ่านจังหวัดนครราชสีมา ในอดีตเคยเป็นที่พักกองคาราวานเกวียนสินค้าที่ขึ้นล่องระหว่างโคราช-เขมร หรือ ที่เรียกกันมาว่า "ด่านเกวียน" ส่วนใหญ่ชาวบ้านมีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก จนชาวข่า (ชนเผ่าตระกูลมอญ-เขมร) เข้ามาทำงานก่อสร้างโบสถ์ และได้นำดินมาปั้นเป็นภาชนะ เผาเก็บไว้ใช้สอยในครัวเรือน จนเกิดเป็นอาชีพที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ฝึกฝน จนมีฝีมือในการทำเครื่องปั้นดินเผาในเวลาต่อมา ลักษณะเฉพาะเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน อยู่ตรงดินเหนียว ซึ่งมีลักษณะเป็นดินเนื้อละเอียด ขุดขึ้นมาจากริมฝั่งแม่น้ำมูล ในพื้นที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า กุด หรือแม่น้ำด้วน (เป็นลักษณะของลำน้ำคดเคี้ยว กัดเซาะตลิ่งจนขาด และเกิดเป็นลำน้ำด้วน) เป็นดินมีคุณสมบัติพิเศษ ง่ายต่อการขึ้นรูป ทนทานต่อการเผา ไม่บิดเบี้ยวหรือแตกหักง่าย และเมื่อถูกเผาไฟจะให้สีโดยธรรมชาติเป็นสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นสีที่สวยได้รับความนิยม สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากธาตุเหล็ก (Iron Oxide) ในเนื้อดิน กระบวนการทำ แบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การเตรียมดิน การหมักดินต้องทำการหมักโดยนำดินมาใส่บ่อแล้วแช่น้ำไว้ 2 คืน เทคนิค ดินที่มีความเหนียวมาก ให้ใส่ดินทราย 3/2 เนื่องจากการใส่ดินทรายจะช่วยทำให้เครื่องปั้นดินเผาไม่ร้าว และไม่แตกง่าย 2. การบดดิน เมื่อหมักดินจนนมีลักษณะดินได้ตามต้องการแล้ว ทำการขุดดินขึ้นมากอง แล้วนำมาใส่เครื่องนวดดิน โดยการนวดดินนั้นจะทำการนวดดิน 2 ครั้ง ทำให้ดินมีรูปทรงกระบอก จากนั้นใช้ไม้วัดความยาวของดินแล้ว ตัดดินด้วยเอ็น การหมักดิน 1 บ่อ จะได้แท่งดินประมาณ 500 แท่ง เทคนิค การนวดดินด้วยเครื่องนวดดิน จะทำให้ง่ายในการขึ้นรูปปั้น 3. การปั้น อุปกรณ์ 3.1 พะมอน 3.2 ฟองน้ำ 3.3 ไม้ไผ่ เหลาจนบางคล้ายหวี แต่ไม่มีซี่ ใช้สำหรับปาด หรือ ตกแต่งผิวดินให้เรียบ 3.4 กระดานวางดิน หรือ อ่างยางที่ทำจากยางนอกรถยนต์ การขึ้นรูปโองดินเผา นำดินที่ผ่านการนวดดิน มาวางบนพะมอน โดยช่างปั้น จะทำการกดดินให้เป็นรูตรงกลาง และให้มือในการขึ้นรูป และจัดทรงขึ้นให้เป็นรูปโอ่ง โดยมีการนำไม้สำหรับวัดขนาดของโอ่ง เมื่อปั้นเสร็จะนำผ้ามาคลุมไว้ รอให้ดินที่ปั้นนั้นมีผิวตึง เทคนิค การคลุมด้วยผ้า จะทำให้ดินผิวตึง และคงที่ไม่ชื้นมาก และไม่แห้งเกินไป 4. การแกะลาย อุปกรณ์ 4.1 ไม้แต่งลาย มีลักษณะแบบ หรือ มีลวดลายแกะสลัก 4.2 มีดเจาะ เป็นมีดแหลมเล็ก 4.3 เหล็กขูดใช้ลวดลายขดเป็นลักษณะ กลม แหลม การตกแต่งต้องรอให้ดินหมาดเสียก่อน 4.4 ไม้สำหรับทำลายดอกไม้ 1) ลายที่แกะจะขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า และผู้ประกอบการ 2) อุปกรณ์ที่ใช้ในการแกะลายมีหลายลักษณะ 3) ความสวยของลายที่แกะลายอยู่ที่ความชำนาญของช่างแกะลาย โดยค่าแกะลายคิดเป็นราคาต่อใบ 4) เมื่อแกะลายเสร็จแล้ว ทำการตากไว้ในร่ม 15 วัน เพื่อให้ดินแห้งและอยู่ทรง 5. การเผา 5.1 การเผาจะใช้เวลา 3-5 วัน และจะใช้ท่อนฟืนขนาดใหญ่เป็นเชื้อเพลิงในการเผา 5.2 วันแรกของการเผาจะนำฟืนไว้หน้าเตาเพื่อให้อุณหภูมิไม่ร้อนมาก เนื่องจากหากนำฟืนใส่เข้าไปภายในเตาเลย อาจจะทำให้เครื่องปั้นแตกได้ ในวันที่ 2-3 จึงนำฟืนเข้าใส่ในเตาได้ เมื่อเผาเสร็จจะทำการปิดรูเตาเผาแล้วทิ้งไว้ในเตา 1 คืน 6. การลงสี 6.1 นำเครื่องปั้นที่ผ่านการเผาไปทาสีรองพื้น ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันไป เช่น สีเขียว สีแดง สีดำ เป็นต้น 6.2 ลงดินโคลนทับสีรองพื้น แล้วทำการขัดโคลนออกอีกครั้งเพื่อให้ผิวเครื่องปั้นนั้นเรียบเนียน เสมอไม่ขรุขระ 6.3 ลงแว๊กขัดมันเพื่อให้เครื่องปั้นดินเผาเกิดความเงา 6.4 การปัดแกมสีด้วยสีต่าง ทั้งภายนอก และภายใน ตามความต้องการของลูกค้า ช่างปั้นนกฮูก น่าสนใจ 1. นายเมี้ยน สิงห์ทะเล ความเชี่ยวชาญการปั้นนกฮูกมากกว่า 40 ปี โดยผ่านการเรียนรู้การปั้นจากบรรพบุรุษ ผลงาน รางวัลอันดับ 1 จากศูนย์อุตสาหกรรม ของกระทรวงพาณิช ที่อยู่ บ้านด่านชัย ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา 2. นายพะรัตน์ ปีบกระโทก ปั้ความเชี่ยวชาญการปั้นนกฮูกมากกว่า 30 ปี โดยผ่านการเรียนรู้การปั้นจากบรรพบุรุษ ผลงาน รางวัลชมเชยผลการแสดงงานปั้นนกฮูกจากการจัดแสดงเทศบาลตำบลด่านเกวียน ที่อยู่ บ้านป่าบง ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา
ภูมิปัญญาชาวบ้านเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน
ปราชญ์ และภูมิปัญญาชาวบ้าน
ที่อยู่: | ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190 |