มะนาวด่านเกวียน


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

นายณรงค์ รัตนจันน์ เป็นผู้ค้นพบสายพันธุ์โดยบังเอิญในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้ขอหนังสือรับรองพันธุ์ขึ้นทะเบียน และได้ประกาศให้ชนิดพืชมะนาว ชื่อสายพันธุ์ ด่านเกวียน เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติพันธู์พืช ในปี พ.ศ. 2540

ลักษณะเด่น เป็นมะนาวพันธุ์ทะวาย ไม้พุ่มต้นสูงเต็มที่ไม่เกิน 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามแหลม ผลมีขนาดใหญ่ มีน้ำมากทุกขนาดผล ติดผลได้ตลอดทั้งปี ทนโรคและแมลง เนื่องจากมีรูปทรงที่แข็งแรง ใบหนาและใหญ่ เจริญเติบโตเร็วจึงมีความแข็งแรงทนโรคและแมลงได้ดี กลิ่นเปลือกไม่ฉุนจัด รสชาติกลมกล่อม และทนทานต่อความแห้งแล้ง

ใบ เป็นใบประกอบชนิดมีใบย่อยเพียงใบเดียว ออกเรียงสลับเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ผิวใบมีจุดน้ำมันกระผิวใบมีจุดน้ำมันกระจายทั่ว ก้านใบสั้น มีครีบขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม

ดอก มีสีขาว ออกเป็นดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อที่ซอกใบและปลายยอด กลีบดอกมี 4 กลีบ กลีบดอกเป็นรูปขอบ ขนานยาว ปลายแหลม เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะม้วนลง กลีบร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอมเย็น ใจกลางดอกมีเกสรสีเหลืองจำนวนมาก

ผลลักษณะผลใหญ่กลมรี ปลายผลแหลมเป็นจุก ติดผลเป็นพวงแน่นไม่ตำกว่า 8-10 ผลต่อพวง มีผิวเปลือกหนา และขรุขระเล็กน้อยคล้ายมะกรูด มีน้ำเต็มผลตั้งแต่ผลเล็ก รสเปรี้ยวจัด และเมื่อผลใหญ่ขึ้นหรือแก่รสจะเปรี้ยวน้อยลง และมีกลิ่นไม่ค่อยหอม การเก็บผลเหมาะที่จะเก็บผลเมื่ออายุประมาณ 3-3 1/2 เดือน เพราะมีผลขนาดเท่า ๆ กับมะนาวพันธุ์อื่น และมีน้ำเต็มผล ผลโตเต็มที่เท่าผลส้มเขียวหวาน เปลือกผลบาง และเกลี้ยง เนื้อในฉ่ำน้ำ น้ำมาก ติดผลตลอดทั้งปี

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง และเสียบยอด

หัวเรื่อง

ภูมิปัญญาชาวบ้านนครราชสีมา...ด้านการเกษตร

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:135 หมู่ที่ 3 ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190

รายการอ้างอิง

  1. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการพิจารณาเสนอให้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์: โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการเกษตรแก่นายณรงค์ รัตนจันทร์. นครราชสีมา: สถาบัน.