ขุนสันทัดบำบัดโรค (นายแพทย์สิงห์ รัตนมาลัย)


รายละเอียด

    เกิดเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2437 ที่ตำบลมะดัน (ปัจจุบันคือ ตำบลท่าช้าง อำเภอจักราช) อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

บิดา นายสร้อย รัตนมาลัย มารดา นางไคล้ รัตนมาลัย

คู่สมรส นางทองอยู่ (นางสันทัดบำบัดโรค)

บุตร-ธิดา จำนวน 7 คน เช่น เภสัชกรหญิงดวงจันทร์ รัตนมาลัย

การศึกษา

- พ.ศ. 2455 แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

- วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2461 แพทย์สุขาภิบาล ประจำโรงพยาบาลสุขาภิบาลนครราชสีมา เมื่อดำรงตำแหน่งนายแพทย์เทศบาล ผู้ปกครองโรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา ท่านตั้งใจทำงานมาก เอาใจใส่คนไข้ ให้การรักษาผู้ป่วยด้วยยา สามารถทำการผ่าตัดได้ ไปตรวจรักษาผู้ป่วยตามบ้านถึงต่างอำเภอ ทำให้มีชื่อเสียงและมีผู้ป่วยมากขึ้น โดยขุนสันทัดบำบัดโรคได้ทำการก่อสร้างเรือนรักษาผู้ป่วยเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว รวม 3 หลัง ได้แก่ โอสถชาย โอสถหญิง และศัลย์ชาย มีการฝึกอบรมผู้ช่วยแพทย์ขึ้น 3 รุ่น ในปี พ.ศ. 2477, 2478 และ 2480     

- ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2482-2488 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองพื้นที่บริเวณตรงข้ามสถานีรถไฟ (หัวรถไฟ) ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทิ้งระเบิดที่สถานีรถไฟโคราชหลายครั้ง ชาวบ้านได้อพยพทิ้งบ้านเรือน บางคนหนีไปอยู่ต่างอำเภอ ขุนสันทัดบำบัดโรคมีบ้านอยู่คนละฝั่งลำตะคองติดกับโรงพยาบาล ได้เปิดบ้านให้คนสนิทเข้ามาพัก เพราะเชื่อว่าโรงพยาบาลเป็นสถานที่ปลอดภัย โดยกางเตนท์ขนาดใหญ่ที่สนาม (ปัจจุบันคือที่ตั้งวิทยาลัยพยาบาล) หลังคาเต๊นท์สีขาวมีกากบาทแดงเป็นสัญลักษณ์กาชาดสากล ใช้เป็นที่หลบภัยของเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย และประชาชน เวลามีการทิ้งระเบิดจากเครื่องบิน

- พ.ศ. 2480 สุขศาลาอำเภอหลุบ จังหวัดมหาสารคาม

- พ.ศ. 2483 นายแพทย์เทศบาลเมืองนครราชสีมา ก่อนลาออกจากราชการเนื่องจากป่วย

หัวเรื่อง

บุคคลสำคัญ

หมวดหมู่

บุคคล

คำสำคัญ

แพทย์

รายการอ้างอิง

  1. บรรณาธิการ, สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ ... [และคนอื่น ๆ]. (2553). บันทึกเกียรติประวัติ 1 ศตวรรษ : โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา. นครราชสีมา : โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา.