ต้นแบบ การปรับปรุงดิน/การให้น้ำ
แนวคิด เน้นการบำรุงดิน
เป้าหมาย-ความต้องการ
ทดสอบการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ควรปรับปรุงดินอย่างไร และควรใช้อัตราปุ๋ยเคมี เท่าใด เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง และดินมีความอุดมสมบูรณ์ยั่งยืน
เทคโนโลยีในแปลงต้นแบบ
เน้นการปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากดินเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด สำหรับการปลูกมัน สำปะหลังให้ได้ผลผลิตสูง ดินที่ปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง ต้องปรับความเป็น กรดเป็นด่างของดินให้เป็นกลาง หรือ pH ประมาณ 6-7 ซึ่งเหมาะสำหรับการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตมันสำปะหลัง ดังนั้น การปรับปรุงดิน จะใช้ปูนขาว และหินฝุ่น และมีการไถ กลบซากมันสำปะหลังลงดิน หลังจากนั้น รองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 50 กิโลกรัม /ไร่ ปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ระยะปลูก 1.10 - 1.20 x 0.60 เมตร เมื่อมันสำปะหลังอายุ ประมาณ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 หรือ 46-0-0 เลือกสูตรใด สูตรหนึ่ง โดยพิจารณาจากลักษณะพืช ว่าน่าจะขาดธาตุอาหารใด อัตรา 80 กิโลกรัม/ไร่/ปี โดยการหว่าน และไม่มีการไถกลบ กำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีไกลโฟเสทและพาราควอท ใช้ ระบบน้ำหยด และสปริงเกอร์ช่วยในฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ในพื้นที่ 13 ไร่ การปลูกมัน สำปะหลังโดยใช้ระบบน้ำ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 13 ตัน/ไร่
เทคนิคและข้อคิดเห็น
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตมันสำปะหลังที่อายุต่าง ๆ พบว่า การเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน ผลผลิตเฉลี่ย 6 ตัน/ไร่ อายุ 9 เดือน ผลผลิตเฉลี่ย 7 ตัน/ไร่ อายุ 10 เดือน ผล ผลิตเฉลี่ย 8 ตัน/ไร่
- การปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ระบบน้ำ ที่อายุ 3 เดือน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1 ตัน /ไร่ และเพิ่มขึ้นเดือนละตัน จนถึง 13 ตัน/ไร่ เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 15 เดือน
- การปลูกมันสำปะหลัง โดยใช้ระยะปลูก 2.00x0.60 เมตร ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับระยะ ปลูก 1.10-1.20x0.60 เมตร
มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุด เพราะให้น้ำหนักหัวดี ส่วนพันธุ์ระยอง 9 ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ประมาณ 500-1,000 กิโลกรัม/ไร่
- ดินเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการปลูกมันสำปะหลัง ดังนั้น ต้องปรับความเป็นกรดเป็นด่าง ของดินให้เป็นกลาง ซึ่งความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโต และ ผลผลิต คือ 6.5
- ไม่มีการใช้ฮอร์โมนหรือปุ๋ยทางใบ เพราะเป็นการสิ้นเปลือง เนื่องจากพบว่า การให้ปุ๋ยทาง ดินและทางใบให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงเน้นการปรับปรุงบำรุงดินเป็นหลัก
- การปลูกมันสำปะหลังเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ให้ผลผลิตดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่ควร ปลูก ถ้าเดือนกุมภาพันธ์ยังมีอากาศหนาวเย็น เนื่องจากมันสำปะหลังจะงอกช้า และชะงัก การเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตต่ำในที่สุด
- หลีกเลี่ยงการเก็บเกี่ยว ในเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตล้นตลาด ทำให้ราคาต่ำ จึงหันมาเก็บเกี่ยวในเดือนเมษายน - พฤษภาคม, พฤษภาคม - กรกฎาคม, สิงหาคม, พฤศจิกายน - ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ขายได้ราคาสูง โดยทยอยเก็บเกี่ยวครั้งละ 10 ไร่ ดังนั้น ฤดูการเก็บเกี่ยวเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ฤดูปลูกจึงเป็นปัจจัยรอง
- การให้เฉพาะน้ำอย่างเดียวแก่มันสำปะหลัง จะไม่ได้ผลผลิตเลย ส่วนการให้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างเดียว มันสำปะหลังไม่ลงหัว ขณะที่การให้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ให้ผลผลิตต่ำ แต่การ ให้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีควบคู่กัน ให้ผลผลิตสูงกว่าทุกวิธีการดังกล่าวข้างต้น
เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้าน พืชไร่--มันสำปะหลัง
เกษตรกรรม
มันสำปะหลัง, เกษตรกร
ที่อยู่: | 4 หมู่ที่ 6 ตำบลกุดโบสถ์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา 30330 |