อดีตเจ้าคณะภาค 11 อดีตเจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา
ชาติกำเนิด: นามเดิมว่า พุ่ม ศรีเมือง เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ณ บ้านโป่งแดง ต.โป่งแดง อ.สูงเนิน (ปัจจุบันเป็น อ.ขามทะเลสอ) จ.นครราชสีมา
บิดา-มารดา: บิดาชื่อ นายเปรม ศรีเมือง และมารดาชื่อ นางแจ้ง ศรีเมือง มีพี่น้อง 10 คน เป็นบุตรคนที่ 2
การศึกษาและบรรพชาอุปสมบท:
- พ.ศ. 2467 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดโป่งบูรพา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา บ้านเกิด จากนั้นได้ไปเรียนต่อทางด้านภาษาบาลี ไวยากรณ์ และธรรมที่วัดมหาพฤฒาราม ต่อมาสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 4 ประโยคตั้งแต่ยังเป็น สามเณร
- พ.ศ. 2472 บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมี พระมหานาคสิริวฑฺโฒ วัดมหาพฤฒาราม เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2488 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 7 ประโยค
การศึกษาพระปริยัติธรรมและงานด้านการศึกษา:
- พ.ศ. 2473 สอบได้ น.ธ.ตรี สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2474 สอบได้ น.ธ.โท สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2475 สอบได้ ป.ธ.3 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2476 สอบได้ ป.ธ.4 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2477 อุปสมบทเป็นพระมหาพุ่ม ฉายา กิตุติสาโร ณ วัดมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยมีพระธรรมธราจารย์ (อ่อน) วัดมหาพฤฒาราม เป็นพระอุปัชฌา มีพระพรหมจริยาจารย์ (ไหม) วัดยานนาววา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ปละมีพระสมุห์เจริญ วัดมหาพฤฒารามเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2478 สอบได้ ป.ธ.5 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรม และบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2479 สอบได้ ป.ธ.เอก สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2480 สอบได้ ป.ธ.6 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2482 เป็นผู้อำนวยการอบรมพระนวกภูมิ (ข้าราชการลาบวช) ภายในพรรษา
- พ.ศ. 2488 สอบได้ ป.ธ.7 สำนักเรียนวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2529 ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย
ตำแหน่งงานปกครองคณะสงฆ์:
สมณศักดิ์:
- พ.ศ. 2492 เป็นเจ้าอาวาสวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ต.ในเมือง จ.นครราชสีมา โดยเริ่มฟื้นฟูบูรณะ และพัฒนาวัด ซึ่งเก่าแก่ และชำรุดทรุดโทรมมากทั้งกุฏิสงฆ์ และพระวิหารหลวง พระอุโบสถ โรงเรียนพระปริยัติธรรม ฯลฯ ติดต่อกันตามลำดับ
เป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษา วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร สำนักศาสนศึกษาคณะจังหวัดนครราชสีมา
เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักศาสนศึกษา วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
- พ.ศ. 2493 เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองนครราชสีมา
เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติรามมุนี หรือ ที่เรียกกันว่า "เจ้าคุณ"
- พ.ศ. 2496 เป็นศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2499 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2501 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชสีมาภรณ์"
- พ.ศ. 2508 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2509 เป็นรักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา
- พ.ศ. 2510 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
- พ.ศ. 2512 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพสีมาภรณ์
- พ.ศ. 2516 เป็นเจ้าคณะภาคที่ 11 ติดต่อกัน 5 สมัย ๆ ละ 4 ปี (2516-2524)
เป็นกรรมการสภาวิทยาเขตวิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้ง ณ วัดศรีสะเกษ อ.เมือง จ.หนองคาย
- พ.ศ. 2521 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวิสุทธาจารย์
เป็นกรรมการบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม จ.นครพนม
- พ.ศ. 2522 เป็นผู้นำปฏิสังขรณ์หลังคาพระวิหารหลวง วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 14x45 เมตร
- พ.ศ. 2523 เป็นผู้นำสร้างตึกสมเด็จพระธีรญาณมุนี ที่วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 14x20 เมตร
เป็นเจ้าของผู้อำนวยการจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษานครราชสีมา ณ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร
- พ.ศ. 2526 เป็นผู้นำปฏิสังขรณ์หลังคาพระวิหารหลวงวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 16x40 เมตร
เป็นผู้นำสร้างสำนักงานคณะสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา ขนาด 14x20 เมตร
- พ.ศ. 2527 เป็นกรรมการชำระพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง
- พ.ศ. 2529 เป็นผู้นำสร้างศาลาการเปรียญวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 8x30 เมตร
- พ.ศ. 2530 เป็นผู้นำสร้างกุฏิกรรมฐาน วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 6x21 เมตร
เป็นผู้นำสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 9x21 เมตร
เป็นผู้นำสร้างถนนภายในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 2.50x495 เมตร
เป็นผู้ขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิ ธรรมวิสุทธาจารย์ เพื่อสนับสนุนการศึกษาสงฆ์ ในวงเงิน จำนวน 13,000,000 บาท
เป็นผู้จัดตั้งวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา ณ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร สืบสานแนวคิด และวิธีการทำงานต่อจากที่สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณณกมหาเถระ) คิดไว้
เป็นประธานสภาวิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา / ขอปรับสภาพเป็น วิทยาเขตนครราชสีมา
เป็นประธานสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตนครราชสีมา โดยอนุมัติของสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- พ.ศ. 2533 ได้รับพระราชทานมหากรุณาธิคุณสถาปนาสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญบัฎในราชทินนามว่า พระพรหมคุณาภรณ์
เป็นผู้นำสร้างถนนในบริเวณวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ขนาด 2.50x495 เมตร
- 12 มีนาคม พ.ศ. 2534 พระพรหมคุณาภรณ์ มีอาการอ่อนเพลีย ฉันไม่ค่อยได้ จำวัดไม่ค่อยหลับ รู้สึกเจ็บในท้อง จึงขอคำปรึกษาจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
- 13 มีนาคม พ.ศ. 2534 เข้ารักการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคกระเพาะอักเสบ และถวายการรักษาทางยา อาการไม่ดีขึ้น
- 22 มีนาคม พ.ศ. 2534 มีอาการอาเจียนเป็นโลหิต ถ่ายออกมามีสีดำ เนื่องจากมีโลหิตออกจากกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตต่ำ แพทย์ถวายการผ่าตัดกระเพาะลำไส้เป็นครั้งแรก
- 25 มีนาคม พ.ศ. 2534 มีโลหิตไหลซึมออกมาตามรอยแผลที่ผ่าตัด แพทย์จึงต้องผ่าตัดอีกเป็นครั้งที่ 2 และพบอาการโรคหัวใจแทรกซ้อน
- 4 มิถุนายน พ.ศ. 2534 มีอาการบวมที่ท้อง และขาทั้ง 2 ข้าง แพทย์ตรวจพบว่า เนื่องจากมีโรคตับแข็งแทรกซ้อน
- 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534 เข้ารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อแพทย์ตรวจโดยละเอียด พบว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี และม้ามโต เป็นสาเหตุให้เหนื่อยง่าย และฉันไม่ค่อยได้ เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลในครั้งนี้ อาการอาพาธทั้งหมดดูเหมือนดีขึ้น ในหมู่คณะสงฆ์วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร และลูกศิษย์ก็ได้ขวนขวาย ช่วยรักษาโดยใช้พิธีกรรมธรรมรักษาอีกทางหนึ่งคือ มีพิธีสวดสืบอายุในพระวิหารหลวง อันเป็นพุทธวิธีมีกำหนด 7 วัน มีพิธีสวดสืบอายุ ค้ำโพธิ์ ต่อสะพานปล่อยสัตว์ ไถ่ถอนชีวิตสัตว์ มีพิธีทำพลีกรรมแก่เทพาอารักษ์ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าวัดเจ้าวา ที่เชื่อกันว่ามีความเกี่ยวข้องกับท่านมาแต่ชาติปางก่อน มีพิธีทำบุญถวายสังฆทานทั้งที่วัด และที่โรงพยาบาลหลายครั้ง ตลอดถึงการบริจาคเงินบำรุงโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาอีกด้วย
- 22 มิถุนายน พ.ศ. 2534 งานฉลองสมโภชน์หิรัญบัฎ และฉลองชนมายุ 77 ปี ถวายมุทิตาสักการะพระพรหมคุณาภรณ์ ณ วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร จัดโดย คณะสงฆ์ภาค 11 จังหวัดนครราชสีมา ทั้งข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ญาติมิต และศิษยานุศิษย์
- 29 สิงหาคม พ.ศ. 2534 แพทย์ตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อ (มะเร็ง) ที่ตับขนาด 36 มิลลิเมตร และมีอาการปวดตา พบว่าเป็นต้อกระจกนัยน์ตา ถ้าจะรักษาต้องผ่าตัด
- 17 ตุลาคม พ.ศ. 2534 จักษุแพทย์ได้ทำการผ่าตัดรักษาต้อกระจกนัยน์ตา จนหายเป็นปกติ ในช่วงหลังนี้การอาพาธของท่านเจ้าคุณเป็นการป่วยยืน เข้า ๆ ออก ๆ ระหว่างวัดกับโรงพยาบาลสลับกันนานถึง 9 เดือน
- 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 เวลา 10.52 น. ท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำสรงศพ โกศ 8 เหลี่ยมบรรจุศพ พร้อมเครื่องประกอบเกียรติยศศพ และพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์บำเพ็ญพระราชกุศลศพพระพรหมคุณภรณ์ มีกำหนด 3 วัน ณ ศาลาการเปรียญวัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร ได้ถึงแก่มรณกรรม สิริรวมอายุ 77 ปี 6 เดือน 3 วัน
- 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ทรงพระกรุณาโปรดบำเพ็ญพระราชกุศล 50 วัน
- 4 เมษายน พ.ศ. 2535 เวลา 10.45 น. พระราชทานเพลิง
เกียรติคุณ:
- รางวัลเกียรติยศเสมาทองคำด้านการส่งเสริมการศึกษา
- ปี พ.ศ. 2532 และได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ด้านการศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พุทธทายาท
บุคคล
สงฆ์