อายุ 84 พรรษา 64
บิดา-มารดา: บิดาชื่อ นายสี แหวนทับทิม มารดาชื่อ นางทิม แหวนทับทิม
บรรพชาและอุปสมบท:
- 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 เมื่ออายุได้ 21 ปี ได้อุปสมบทเมื่อ ณ พัทธสีมาวัดนกออก โดยมีหลวงปู่กลิ่น วัดนกออก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการพรม วัดป่าเลไลย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์แห้ว วัดนกออก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับสมณฉายาว่า “อิสฺสริโก” และได้จำพรรษาอยู่ที่วัดครบุรี ขณะจำพรรษาได้ศึกษาพระปริยัติธรรมจนสอบได้นักธรรมชั้นตรีและเมื่อหลวงปู่น้อย เจ้าอาวาสวัดสว่างหนองแวง (บ้านไผ่) ได้เห็นหลวงปู่นิล มีลายมือสวยงาม ทั้งแตกฉานในด้านภาษาขอม และเขียนอ่านคล่อง จึงได้ขอให้ท่านช่วยจารคาถาพัน เรื่องพระเวสสันดรชาดกและเป็นภาษาขอมให้ และได้ทำการซ่อมแซมตำราวิชาการต่างๆ พุทธาคมเชี่ยวชาญในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน สืบทอดเจตนารมณ์และพุทธคมจากหลวงปู่น้อย วัดบ้านไผ่ หลวงปู่โต วัดปอแดง เชื่อกันว่าท่านสำเร็จกสิณและพระธาตุกรรมฐาน หลายคนกล่าวว่า เวลาท่านเข้าโบสถ์ปลุกเสก อธิษฐานจิต จะมีแสงไปเปล่งประกายรอบองค์ท่านกิตติคุณ บางคนเชื่อว่าท่านสำเร็จฌารอภิญญา มีพลังจิตเข้มแข็ง อธิษฐานปลุกเสกจนวัตถุมงคลขอท่านเป็นที่เลื่องลือ ที่โดดเด่นทั้งท่งเมตตามหานิยม และคุ้มครองป้องกันฯลฯนอกจากท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่มากด้วยวิชาความรู้แล้ว เรื่องวิชาแพทย์แผนโบราณ ยาสมุนไพร ท่านเป็นหนึ่งมาโดยตลอด สุดยอดวัตถุมงคลที่ลูกศิษย์ลูกหาหวงแหนที่สุด พระตะกั่วเถื่อน รูปถ่ายขาวดำ เหรียญรูปไข่ มหาอุดไม้รวก สีผึ้งเจ็ดอังคาร ตะกรุดมหาอำนาจหนังสือ
การศึกษา:
- เมื่ออายุได้ 11 ปี บิดาได้นำไปฝากเรียนหนังสือกับพระภิกษุที่วัดไทยโยง ต่อมาได้เรียนอักษรสมัย (บาลี) ภาษาไทยและภาษาขอมโบราณ ณ สำนักเรียนวัดครบุรี โดยมีหลวงปู่สี จากวัดเชียงสา เป็นพระอาจารย์ นอกจากนี้ยังได้เรียนภาษาขอมโบราณจากพระอาจารย์ชุก หลวงปู่ดอน และหลวงปู่เชย
งานปกครอง:
- พ.ศ. 2500 เป็นเจ้าอาวาสวัดบัว
- พ.ศ. 2500 เป็นเจ้าคณะตำบลโนนสูง
- พ.ศ. 2515 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี
- พ.ศ. 2521 เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2533 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอโนนสูง
- พ.ศ. 2524 เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นโท
- พ.ศ. 2543 เป็นพระครูสัญญาบัตรรองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
- พ.ศ. 2551 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอโนนสูง
การศึกษาและการเผยแผ่:
- สำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2488
- สำนักศาสนศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2534
- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2535
- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 25 เมื่อ พ.ศ. 2551
การสาธารณูปการ เสนาสนะสิ่งก่อสร้าง:
- พ.ศ. 2509 สร้างอุโบสถ 1 หลัง
- พ.ศ. 2518 สร้างศาลาการเปรียญ 2 ชั้น พร้อม ครัวและห้องน้ำ 1 หลัง
- พ.ศ. 2525 สร้างกุฏิสงฆ์ 2 ชั้น 1 หลัง
- พ.ศ. 2530 สร้างกุฏิปฏิบัติธรรม 2 ชั้น 1 หลัง
- พ.ศ. 2532 สร้างเมรุ 1 หลัง
- พ.ศ. 2535 สร้างหอฉัน 1 หลัง
- พ.ศ. 2535 สร้างห้องน้ำ 1 หลัง
- พ.ศ. 2535 สร้างหอระฆัง 1 หลัง
- พ.ศ. 2537 สร้างศาลาอเนกประสงค์ 1 หลัง
- พ.ศ. 2540 สร้างหอไตรและพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 2 ชั้น 1 หลัง
- พ.ศ. 2547 ซื้อที่ดินเพื่อสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรม
- พ.ศ. 2550 สร้างศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง
- สร้างห้องเก็บของและห้องน้ำ พร้อมโรงครัว 1 หลัง
- สร้างกุฏิสงฆ์ 1 หลัง
- สร้างห้องน้ำทิศใต้ศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง
- สร้างห้องน้ำทิศเหนือศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง
- เทถนนคอนกรีต และ เทพื้นคอนกรีต ภายในบริเวณวัด
- พ.ศ. 2554 สร้างศาลาปฏิบัติธรรม 1 หลัง
- สร้างกุฏิปฏิบัติธรรม 4 หลัง
- พ.ศ. 2555 สร้างกุฏิปฏิบัติธรรม 1 หลัง
พุทธทายาท
บุคคล
พุทธทายาท, สงฆ์
ที่อยู่: | อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 |