ชาติกำเนิด: พ.ศ. 2466
บิดา-มารดา: บิดาชื่อ นายบุญ ฉัตรพลกรัง มารดาชื่อ นางทองขาว ฉัตรพลกรัง
ประวัติ:
หลวงพ่อคูณ ชื่อและนามสกุลทางโลกคือ คูณ ฉัตร์พลกรัง มีภูมิลำเนา หมู่ที่ 6 บ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยมีญาติพี่น้อง 3 คน คือ
1. พระญาณวิทยาคม
2. นางคำมั่น วงษ์กาญจนรัตน์
3. นางทองหล่อ เพ็ญจันทร์
ด้านการศึกษา:
เนื่องจากบิดามารดาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก หลวงพ่อกับน้องสาวอีกสองคนจึงอยู่ในความอุปการะของน้าสาว จนกระทั่งอายุครบบวช วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 การอุปสมบท ณ วัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยมีท่านพระครูวิจารณ์ตีกิจ อดีตเจ้าคณะอำเภอเป็นอุปัชฌาย์ หลังจากท่านอุปสมบทเป็นภิกษุเรียบร้อยแล้ว ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อแดง วัดหนองโพธิ์ ต.สำนักตะคร้อ อ.ด่านขุดทด หลวงพ่อแดงเป็นพระนักปฏิบัติทั้งทางคันธุระและวิปัสสนา อีกทั้งเป็นเกจิอาจารย์ที่รุ่งเรืองวิทยาคม ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียนและอยู่ในกรอบแห่งวินัยโดยเคร่งครัด จึงเป็นที่รักของหลวงพ่อแดง ซึ่งนอกจากจะได้ถ่ายทอดวิทยาคมให้จนหมดสิ้นแล้วยังได้จัดการให้หลวงพ่อคูณไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อคง พุทธสุโร วัดถนนหักใหญ่ ต.กุดพิมาย อ.ด่านขุนทด ซึ่งเป็นวัดที่ท่านอุปสมบทนั่นเอง หลวงพ่อคงเป็นพระเกจิอาจารย์ที่รุ่งเรืองวิทยาคมไม่น้อยกว่าหลวงพ่อแดง หลวงพ่อคูณได้ศึกษาเล่าเรียนและปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อคงอย่างจริงจัง จนกระทั่งมีความเชื่อมั่นว่าช่วยตัวเองได้แล้ว จึงขออนุญาตหลวงพ่อคงเพื่อออกธุดงค์แสวงหา อันเป็นธรรมขั้นปรมัตถ์ตามพระพุทธวัจนะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าสืบต่อไปงานของหลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ มีอยู่มากมาย ท่านเป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาทั้งชาวนครราชสีมา ชาวภาคอีสานและพุทธบริษัททั่วประเทศ เนื่องด้วยเมตตาธรรมของท่านที่เผื่อแผ่ออกไปสู่ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธา จตุปัจจัยต่างๆ ที่มีคนถวายจะถูกนำไปสร้างสาธารณประโยชน์ให้กับสังคม โดยถ้าจะนับเป็นเงินแล้ว มีจำนวนหลายร้อยล้าน
งานหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ มีอยู่มากมาย แม้ว่าชื่อเสียงของท่านจะเป็นที่รู้จักจากวัตถุมงคลชนิดต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดสร้างขึ้นในนามของท่านนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 เป็นต้นมา แต่ก็เพราะเนื่องด้วยเมตตาธรรมของท่านที่เผื่อแผ่ออกไปสู่ประชาชนที่เลื่อมใสบูชา และเกือบจะถ้าจะนับเป็นเงินแล้วน่าจะมีจำนวนหลายร้อยล้านบาท จะมีการกล่าวถึงสมญาของท่านว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา แม้ว่ากระแสแนวคิดเรื่องพุทธพาณิชย์ที่เรียกร้องให้สังคมหันมาทบทวนถึงการสร้างวัตถุมงคลกันใหม่จะสร้างความแคลงใจในบทบาทที่แท้จริงของท่าน แต่ไม่มีใครที่จะสามารถพูดได้ว่าหลวงพ่อมอมเมาประชาชนให้งมงาย เพราะท่านมักจะบอกเสมอว่า ถึงแขวนพระของท่านเต็มคอถ้าไม่ทำความดีมันก็ไม่ดีดอก ไม่รวมถึงบุญบารมีที่ท่านทำติดต่อกมานับสิบปีที่ช่วยพิสูจน์ว่าท่านไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
การมรณภาพ:
เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เวลาประมาณ 05:45 น. พนักงานพยาบาลที่ดูแลหลวงพ่อคูณที่วัดบ้านไร่ พบว่าหลวงพ่อมีอาการหมดสติไม่รู้สึกตัว จึงได้แจ้งคณะแพทย์โรงพยาบาลด่านขุนทด และคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มาวินิจฉัยโดยด่วนซึ่งคณะแพทย์ได้ตรวจประเมินว่า หลวงพ่อคูณหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้น จึงปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง จนกระทั่งอาการทรงตัว ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ พร้อมเครื่องกระตุ้นหัวใจ
จากนั้นเมื่อเวลา 08:30 น. จึงส่งรักษาต่อที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา พบว่ามีลมรั่วเข้าภายในปอดฝั่งซ้าย และมีเสมหะอุดตันทางเดินหายใจ จึงให้หลวงพ่อพักรักษาตัว ภายในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม (ICU) โดยจัดคณะแพทย์และพยาบาล เฝ้าระวังดูแลอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากสัญญาณชีพของหลวงพ่อยังไม่คงที่ จากนั้นคณะแพทย์จากโรงพยาบาลศิริราช เข้าร่วมทำการวินิจฉัยและรักษา กับคณะแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาด้วย
ต่อมาเวลา 20:00 น. คณะแพทย์รายงานผลการตรวจรักษาหลวงพ่อว่า สัญญาณชีพยังไม่คงที่ ต้องใช้ยากระตุ้นหัวใจ และเครื่องช่วยหายใจ ขณะเดียวกัน มีเลือดออกในทางเดินอาหารจำนวนมาก ร่วมกับมีภาวะไตหยุดทำงาน เป็นผลให้ไม่มีปัสสาวะออกจากร่างกาย ทั้งนี้ภาวะผิดปกติที่แทรกซ้อนขึ้นทั้งหมด เกิดจากปอดและหัวใจ หยุดทำงานเป็นเวลานาน[6] และรุ่งขึ้น (วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม) เมื่อเวลา 10:00 น. คณะแพทย์ผู้รักษารายงานว่า มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เป็นผลให้มีเลือดออกในช่องทรวงอก จึงทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น คณะแพทย์จึงทำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง สำหรับภาวะไตหยุดทำงาน คณะแพทย์ใช้เครื่องไตเทียมทำการฟอกเลือด[7] จนกระทั่งเวลา 11:45 นาฬิกา คณะแพทย์ออกประกาศแจ้งว่า พระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) มีอาการโดยรวมทรุดลง จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพลงขณะทำการรักษา ภายในห้องอายุรกรรมผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สิริอายุ 91 ปี พรรษา 71[8] ซึ่งในการแถลงข่าวโดยคณะแพทย์ผู้รักษา เมื่อเวลา 12:15 น. น.พ.พินิศจัย นาคพันธุ์ แพทย์อายุรกรรมหัวใจชำนาญการ ผู้รักษาประจำของหลวงพ่อคูณ ในสถานะหัวหน้าคณะแพทย์กล่าวว่า สาเหตุแห่งการมรณภาพ เนื่องจากการหายใจหยุดลง เพราะมีลมรั่วเข้าไปภายในปอด หรือที่เรียกว่าปอดแตก เป็นเหตุให้หัวใจหยุดเต้น เนื่องจากคณะแพทย์ต้องช่วยปั๊มหัวใจ เป็นเวลานานถึง 1 ชั่วโมง ทั้งที่หากสมองขาดออกซิเจนเพียง 4 นาที ก็เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว หลังจากนำหลวงพ่อมายังโรงพยาบาล ก็พยายามช่วยกันเต็มที่ เมื่อเวลาประมาณ 05:40 น. ยังต้องปั๊มหัวใจเพิ่มถึงสองรอบ แต่ด้วยความที่หลวงพ่อ อยู่ในภาวะที่ไม่รับรู้ใดๆ นับแต่หมดสติที่วัดบ้านไร่แล้ว เมื่อการหายใจหยุดลง และหัวใจหยุดเต้นเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ วิกฤตลงตามไปด้วย คือเข้าสู่ภาวะสมองตายตั้งแต่แรก ต่อมาแพทย์พยายามยื้อหัวใจ และต่อมาปอด จนมาถึงไต แต่แล้วสุดท้าย อวัยวะสำคัญก็ล้มเหลวลงทั้งหมด หลวงพ่อจึงถึงแก่มรณภาพดังกล่าว[9] จากนั้นมีการเปิดเผยพินัยกรรม ซึ่งหลวงพ่อคูณทำไว้ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2543 มีใจความสำคัญระบุให้มอบสังขาร แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่มรณภาพ แล้วให้ทางมหาวิทยาลัยมอบให้แก่ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้นำไปศึกษาค้นคว้า ตามวัตถุประสงค์ของภาควิชา สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา และการสวดพระอภิธรรม ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีขึ้นที่คณะเป็นเวลา 7 วัน ส่วนการประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เมื่อสิ้นสุดการศึกษาค้นคว้า ของภาควิชากายวิภาคศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ให้จัดอย่างเรียบง่าย ละเว้นการพิธีสมโภชใดๆ ทั้งห้ามขอพระราชทานเพลิงศพ โกศ และพระราชพิธี อื่นๆ เป็นกรณีพิเศษหรือเป็นการเฉพาะ โดยให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบพิธีเช่นเดียวกับที่จัดให้แก่ อาจารย์ใหญ่ของนักศึกษาแพทย์ประจำปี ร่วมกับอาจารย์ใหญ่ท่านอื่น แล้วเผาที่ฌาปนสถานวัดหนองแวง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น (หรือวัดแห่งอื่น) และเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ขอให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น นำอัฐิ เถ้าถ่าน และเศษอังคารทั้งหมด ไปลอยที่แม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ตามที่เห็นสมควรและเหมาะสม โดยมีสักขีพยานประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ขณะนั้น), ญาติ, ไวยาวัจกรวัดบ้านไร่ (ขณะนั้น) และนิติกรชำนาญการ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงนามเป็นหลักฐาน[10] ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ร่วมกันประชุมและลงมติให้ดำเนินการ ตามพินัยกรรมฉบับดังกล่าวทุกประการ โดยไม่มีการนำไปบำเพ็ญกุศลที่วัดบ้านไร่เสียก่อน ดังที่มีลูกศิษย์จำนวนหนึ่งร้องขอแต่อย่างใด ซึ่งมีการเคลื่อนสังขารของหลวงพ่อคูณ ออกจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เมื่อเวลา 20:00 น.[11] โดยไปถึงศาลา 25 ปีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อเวลาประมาณ 22:00 น. เพื่อบรรจุสังขารลงในโลงแก้ว จากนั้นรุ่งขึ้น (วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม) เวลาประมาณ 14:00 น. คณะลูกศิษย์พากันจัดริ้วกระบวน เพื่อเคลื่อนสังขารหลวงพ่อคูณ ไปยังศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่นนั้นเอง เพื่อตั้งสังขารบำเพ็ญกุศลและสวดพระอภิธรรม เป็นเวลา 7 วัน ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น กำหนดจัดขึ้นตั้งแต่ วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันอังคารที่ 25 สิงหาคม ระหว่างเวลา 06:00-23:00 น. สำหรับสาเหตุที่ต้องเคลื่อนสังขารอีกครั้ง เนื่องจากศูนย์ประชุมดังกล่าว เป็นสถานที่กว้างขวางสะดวกสบาย สามารถรองรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งเดินทางมาสักการะสังขารอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พวงมาลา 12 พวง โดยมอบหมายให้สำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ พร้อมทั้งพระราชทานโกศโถบรรจุศพ พร้อมฉัตรเบญจาเป็นกรณีพิเศษ
แนวคิด/ผลงาน/กิจกรรม
- องค์ความรู้ปรัชญา ศาสนา
รางวัลเกียรติยศ:
- พ.ศ. 2535 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรสมณศักดิ์ที่พระญาณวิทยาคมเถร จาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- พ.ศ. 2536 ท่านได้รับประกาศเชิดชูเกียรติผู้อนุรักษ์มรดกไทยสาขาภูมิปัญญา ในฐานะที่ท่านเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน จากศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา
- 14 เมษายน พ.ศ. 2540 ปริญญานิเทศศาสตร์ดุษฎีบันฑิตกิมศักดิ์
- พ.ศ. 2548 ปราชญ์ชุมชน กลุ่มปรัชญา ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมพื้นบ้าน องค์ความรู้ปรัชญา ศาสนา จาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พุทธทายาท
บุคคล
สงฆ์, ปราชญ์, ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ที่อยู่: | ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา 30210 |