สังฆนายกองค์แรกของประเทศไทย
การบรรพชา:
- พ.ศ. 2429 บรรพชาที่วัดบ้านสว่าง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
- พ.ศ. 2430 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดศรีทอง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโชติปาลเถระ (ทา) กับพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอาจารย์คู่สวด
การศึกษา:
- ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดศรีทอง จนถึงปี พ.ศ. 2433 ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์) ไปกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนโดยพักจำพรรษาอยู่ที่วัดพิชัยญาติการาม วัดเทพศิรินทราวาส และวัดบวรนิเวศวิหาร สอบได้เปรียญ 5 ประโยคจากสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงปี พ.ศ. 2493 เมื่อพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์) เดินทางกลับ จ.อุบลราชธานี เพื่อตั้งโรงเรียน จึงกลับไปเป็นครูสอนที่โรงเรียน
สมณศักดิ์:
- พ.ศ. 2447 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระศาสนดิลก และตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอีสาน ขณะจำพรรษาอยู่ ณ วัดสุปัฏนาราม จ.อุบลราชธานี
- พ.ศ. 2454 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชมุนี
- พ.ศ. 2464 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระเทพเมธี
- พ.ศ. 2467 ได้รับอาราธนามาอยู่ประจำวัดที่ "วัดสุทธจินดา" จ.นครราชสีมา วัดนี้เป็นวัดใหม่โดยรวมวัดสมบูรณ์จิ๋วกับวัดบรมจินดาให้เป็นวัดเดียวกัน พระจ้าบรมวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชได้ประทานนามว่า วัดสุทธจินดา ท่านจึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
- พ.ศ. 2470 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระโพธิวงค์ศาจารย์
- พ.ศ. 2472 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระธรรมปาโมกข์
- พ.ศ. 2475 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระมหาวีรวงค์ ดำรงตำแหน่งสังฆนายกองค์แรกในประเทศไทย (ปัจจุบันตำแหน่งนี้ถูกยกเลิก)
ทั้งนี้ท่านได้รวบรวมหนังสือคำสอน และวัตถุโบราณไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษา สิ่งที่ท่านรวบรวมไว้นั้นปัจจุบันทางราชการได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีชื่อว่า "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมหาวีรวงศ์" ภายในวัดสุทธจินดา
พุทธทายาท
บุคคล
สงฆ์, วัดสุทธจินดา