สร้างด้วยศิลาแลงเป็นปราสาทขอมที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา แต่เหลือเพียงซากฐานอาคาร โดยตัวปราสาทได้แบ่งออกเป็นส่วนต่าง ๆ ด้านนอกเป็นแนวคูน้ำขนานกับแนวคันดินเกือบรอบโบราณสถาน ด้านทิศเหนือมีประตูหรือโคปุระ เป็นทางเดินเชื่อมไปยังด้านใน ซึ่งมีซากฐานปราสาทสามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันโดยหันหน้าไปทางทิศเหนือ พ้นจากแนวคูน้ำคันดินออกไปนอกสุด มีซากอาคารสองหลังสร้างหันหน้าเข้าหากัน อาคารทั้งสองหลังนี้มีแนวกำแพงล้อมรอบ
ในปี พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งบูรณะ และได้พบโบราณวัตถุหลายชิ้น ที่สำคัญ คือ ทับหลังรูปเทวดานั่งในซุ้มเหนือหน้ากาล ได้พบทับหลังสลักลายก้านต่อดอกซึ่งเทียบได้กับลวดลายในศิลปะเขมร สถาปัตยกรรมแบบเกาะแกร์ โบราณสมัยบันทายศรี ราวปี พ.ศ. 1510-1550 นอกจากนี้ยังพบศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐาน ประตูซุ้มชั้นนอกระบุปี พ.ศ. 1514 และ พ.ศ. 1517 นักโบราณคดีสันนิษฐานจากหลักฐานที่พบทั้งหมดว่า ปราสาทแห่งนี้น่าจะเป็นศาสนสถาน ในคติฮินดูหรือพราหมณ์ ที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อประกอบพิธีกรรมถวายแด่พระศิวะ ซึ่งเป็นยุคสมัยเดียวกับปราสาทโนนกู่ ที่ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 500 เมตร
แหล่งศิลปกรรมทองถิ่นจังหวัดนครราชสีมา: ประเภทแหล่งศิลปกรรม
สถานที่ท่องเที่ยว
โบราณสถาน
ปรางค์, ปราสาท, กู่, สถานที่ท่องเที่ยว
ที่อยู่: | บ้านกกกอก ตำบลโคราช ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 30170 |