รศ. ดร.วิโรฒ ศรีสุโร


รายละเอียด

      เกิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2482 ณ ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี 

คู่สมรส นางเปรมจิต ศรีสุโร

บุตร-ธิดา จำนวน 3 คน

การศึกษา

- โรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนครกรุงเทพมหานคร

- พ.ศ. 2507 ระดับปริญญาตรี สถาปัตยกรรมศาสตร์ (อุตสาหกรรมศิลป์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- พ.ศ. 2519 Certificate : Wood Industrial Machinery ที่ประเทศญี่ปุ่น

- พ.ศ. 2534 วุฒิสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 อาชีพ สถาปนิก ศิลปิน อาจารย์มหาวิทยาลัย

การทำงาน

- เริ่มรับราชการครูตรี ที่วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา

- พ.ศ. 2518 อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

- พ.ศ. 2532 โอนมาสังกัดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แลเป็นผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้รับตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ระดับ 9

- พ.ศ. 2544 คณบดีคณะศิลปะการประยุกต์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  

นามปากกา ว.ศรีสุโร

ผลงาน

- ออกแบบและตกแต่งอาคารทางศาสนา เช่น

- พ.ศ. 2520 อุโบสถวัดศาลาลอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

- พ.ศ. 2525 พระธาตุวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

- พ.ศ. 2527 อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

- พ.ศ. 2528 ซุ้มประตูวัดสว่าง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 

- พ.ศ. 2530 ศาลาทรงอีสาน วัดญาณสังวรา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 

- พ.ศ. 2531 อาคารที่ทำการ กรรมาธิการสถาปนิกอีสาน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี

- พ.ศ. 2533 พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดเลย

- พ.ศ. 2534 พระธาตุหลวงปู่ ชามา อจุตโต วัดใหม่อัมพวัน บ้านไร่ม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 

- พ.ศ. 2535 สถาบันวิจัยค้นคว้าศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 

- พ.ศ. 2536 ป้ายชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 

- พ.ศ. 2536 หอพระ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มห่วิทยาลัยมหาสารคาม 

- พ.ศ. 2538 หอแจก วัดพระพุทธบาท อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2538อาคารและสวนวัฒนธรรมอีสาน ร้านพระธรรมขันธ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี  

- ​​​​​​​พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรม วัดเจติยภูมิ (พระธาตุขามแก่น) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2539 อาคารศตวรรษมงคล ขอนแก่นวิทยายน 100 ปี 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2539 ซุ้มประตูทางเข้าค่าย "เปรม ติณสูลานนท์" อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2540 พระอุโบสถวัดศรีมงคล บ้านธาตุ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร สถาปนิกร่วม นายประวัติ บุญรักษา

- ​​​​​​​พ.ศ. 2540 พลับพลารับเสด็จสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เวียงจันทน์ ลาว     

- ​​​​​​​พ.ศ. 2540 วิหารพระเจ้าใหญ่อินแปง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี     

- ​​​​​​​พ.ศ. 2540 สำนักปฏิบัติธรรม สาขาวัดประโดก อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

- ​​​​​​​พ.ศ. 2540 อาคารปฏิบัติธรรมและพิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อมหาธนิต ปัญญาปสุโต (ป.9) สถาปนิกร่วมนาย พงศ์พันธ์ พิศาลสารกิจ

- ​​​​​​​พ.ศ. 2541 ธาตุมรรค 8 และอุโบสถบนหอแจก วัดป่ากุฉิธรรมวาส อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2542 หอศิลปวัฒนธรรมและเวทีแสดงกลางแจ้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สถาปนิกร่วม รศ.ธิติ เฮงรัศมี

- ​​​​​​​พ.ศ. 2545 อาคารรับพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 

ป้ายชื่อมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

- ​​​​​​​พ.ศ. 2547 อาคารสถาบันวิจัยวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง (อาคารมรรค 8) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2548 อาคารเรียนคณะศิลปประยุกต์และออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2548 อาคารเรียนโครงการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 

- ​​​​​​​พ.ศ. 2548 อาคารพระปทุมราชวงศา วัดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 

​​​​​​​ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรมอีสานประยุกต์ เช่น

- ฟื้นฟูงานเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียนในรูปแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง และเครื่องประดับ

- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องใช้พื้นบ้าน ทั้งงานจักสาน ถักทอ แกะสลัก รวบรวมเกวียนทั่ว ประเทศไทย

- จัดทำพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ชื่อ พิพิธภัณฑ์เกวียน ไว้ที่ร้านดินดำ บ้านด่านเกวียน ตำบลด่านเกวียน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ยังมีศูนย์ศิลปะชาวนา จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในอาชีพของชาวนา ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว

การแต่งหนังสือและตำรา เช่น 

- ธาตุอีสาน. [ม.ป.ท.]: เมฆาเพรส, 2531.

- สถาปัตยกรรมอิฐ. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2532]

- การศึกษาและสำรวจลักษณะรูปแบบอาคารทางศาสนาในภาคอีสาน (เฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์). ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534

- ศาสนาคารในกาฬสินธุ์. โดย วิโรฒ ศรีสุโร และธาดา สุทธิธรรม. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534

- สถาปัตยกรรมกลุ่มชนสายวัฒนธรรมไต-ลาว. [ขอนแก่น]: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, [2534]

- หลักบ้านในภาคอีสาน. โดยวิโรฒ ศรีสุโร และธาดา สุทธิธรรม. [ขอนแก่น]: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2534

- การศึกษาและสำรวจลักษณะรูปแบบอาคารทางศาสนาในภาคอีสาน (เฉพาะจังหวัดร้อยเอ็ด). ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2535

- ส่วนประดับสถาปัตยกรรมอีสาน กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี (ในเขตอำเภอเมือง). [ขอนแก่น]: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2536 

- สิมอีสาน. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2536

- เถียงนาอีสาน: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี อุดรธานี ยโสธร กาฬสินธุ์ และสกลนคร. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2538

ธาตุอีสาน. กรุงเทพฯ: เมฆาเพรส, 2539

- หลากภูมิธรรม นฤมิตกรรมอีสาน : สถาปัตยกรรมอีสาน. [ขอนแก่น]: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2540

บันทึกอีสานผ่านเลนส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2543

- รายงานผลการวิจัยในรอบ 1 ปี สถาปัตยกรรมวัดพุทธศาสนาในประเทศไทย : วัดภาคเหนือและภาคกลาง. ธาดา สุทธิธรรม และวิโรฒ ศรีสุโร. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2544] 

- เบิ่งฮูป-แต้มคำ 1 และ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2546

- บันทึกอีสานผ่านเลนส์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2547

- วิกฤตสถาปัตย์พื้นถิ่นในดินแดนอีสาน. [ขอนแก่น]: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;[กรุงเทพฯ] : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, [2547]

- วิกฤตศิลปะพื้นบ้านอีสานอดีต-ปัจจุบัน-อนาคต. อุบลราชธานี: งานส่งเสริมการวิจัยบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2548

- ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพคุณแม่สุธรรมมา กาสินพิลา : สิมอีสาน ฮูบแต้ม และบุญผะเหวด. นิวัติ กองเพียร, วิโรฒ ศรีสุโร, สะอาด สิงนาค และสุมาลี เอกชนนิยม. [กรุงเทพฯ]: โฮมบายเออร์ไกด์, [2549]

- ท่องอาณาจักรจาม ข้ามลาวไป เว้-วิง-ดองฮา-ดานัง 11-17 เมษายน 2544. [ม.ป.ท.: ม.ป.พ.], 2551      

ผลงานด้านการถ่ายภาพ เช่น

- บันทึกอีสานผ่านเลนส์

ผลงานการเขียนกลอนและลายเส้น เช่น

- เบิ่งฮูป-แต้มคำ 1 และ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2546

บทความ

- บันทึก (บางส่วน) สู่เมืองหลวงพระบางว่าด้วยศาสนาคาร. อีสาน-สถาปัตย์. 1, 3 (2537): 18-29 

- วัฒนธรรมอีสานกับการพัฒนา. วารสารศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 3, 1 (ม.ค.-เม.ย. 38): 9-21

- วิกฤตสถาปัตย์พื้นถิ่นอีสาน. วารสารศูนย์การศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4, 1 (ม.ค.-เม.ย. 39): 35-39

- สถาบันการศึกษากับศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน. อีสาน-สถาปัตย์. 3, 7 (2540): 1-8

ดูอเมริกาในเวลา 3 อาทิตย์. อีสาน-สถาปัตย์. 3, 7 (2540): 59-76

ธาตุไม้. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). 2, 2 (พ.ย. 2540-เม.ย. 2541): 26-29

- สิมอีสาน. วารสารวิจัย มข.. 3, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2541): 92-95

- เยี่ยมเยือนเรือนไท-ดำ. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม). 3, 1 (พ.ค.-ต.ค. 2541): 28-32  

- บทวิเคราะห์-วิพากษ์ สถาปัตย์อีสาน วันวาน กับวันนี้. อีสาน-สถาปัตย์. 10, 2 (2542): 21-30

- ล่องน้ำอู-พูดอยเสียดฟ้า-เสน่หาพงสาลี. สารมิตรภาพไทย-ลาว. 6, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2542): 29-37

- ปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก สปป.ลาว. สารมิตรภาพไทย-ลาว. 6, 4 (ต.ค. ธ.ค. 2542): 28-32   

- เยี่ยมเยือนเรือนไท-ดำ. อีสาน-สถาปัตย์. 11, 1 (2543): 2-10

- พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม. ธรรมทรรศน์. 2, 2 (ก.ค.-ต.ค. 2544): 18-24

รางวัล

- พ.ศ. 2516 ได้รับรางวัลบุกเบิกอาคารทางศาสนาดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับรางวัล ของมูลนิธิ เสฐียร โกเศศ และนาคะประทีป 

- พ.ศ. 2529 บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขางานช่างผีมือ

- พ.ศ. 2534 รับพระราชทานปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

- พ.ศ. 2534 รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม

- พ.ศ. 2537 ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรับพระราชทานประกาศเกียรติคุณ สถาปนิกดีเด่นจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

- พ.ศ. 2540 รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม สิมอีสาน จากคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ

- พ.ศ. 2550 ศิลปินมรดกอีสาน สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย) เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยจากสำนักวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น

- พ.ศ. 2565 รางวัล วิโรฒ ศรีสุโร จัดตั้งโดย สมาคมศิษย์เก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ ทัศนศิลป์ และสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น รวมทั้งเป็นการเชิดชูเกียรติและระลึกถึง รศ.ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ผู้ร่วมก่อตั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้มีการมอบรางวัล วิโรฒ ศรีสุโร ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 เมื่อวันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ อาคารสิม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  

      รศ. ดร.วิโรฒ ศรีสุโร ถึงแก่มรณะกรรมเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 เวลา 19:45 น. ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น รวมอายุ 69 ปี

 

หัวเรื่อง

บุคคลสำคัญ

หมวดหมู่

บุคคล

คำสำคัญ

บุคคลดีเด่น, วัฒนธรรม, ช่างฝีมือ, ศิลปวัฒนธรรม, สถาปัตยกรรม, สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น, อีสาน

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190

รายการอ้างอิง

  1. รศ. ดร.วิโรฒ ศรีสุโร (สถาปัตยกรรมร่วมสมัย). สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565, จาก https://sites.google.com/view/morradokisan-db/
  2. วิโรฒ ศรีสุโร. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2565, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8