วัดบิง


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2357 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2455 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต วันที่ 2-8 มีนาคม พ.ศ. 2535 สาเหตุที่ชื่อว่า "วัดบิง" เนื่องจากวัดตั้งอยู่ในหมู่บ้านบิง มีเรื่องเล่าว่า บ้านบิงเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีอายุมากกว่า 300 ปีเศษ เดิมพื้นที่หมู่บ้านบิงในปัจจุบันนี้ยังไม่มีผู้คนอาศัย มีเพียงแต่หมู่บ้านกระโทกที่เป็นหมู่บ้านเดิม ต่อมาชาวบ้านกระโทกได้ย้ายถิ่นฐานมายังบ้านบิง เพราะพื้นที่มีทำเลที่ดี มีหนองน้ำขนาดใหญ่เหมาะแก่การเพาะปลูก สันนิษฐานว่า น่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า "บึง" เพราะรอบหมู่บ้านจะมีหนองน้ำขนาดใหญ่อยู่ล้อมรอบหมู่บ้านแต่เรียกกันเพี้ยนมาเป็น "บิง" จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย โบสถ์ขนาดใหญ่ เป็นอาคารคอนกรีตก่อด้วยอิฐถือปูน เพดานดาวและผนังโบสถ์เป็นภาพเขียนสีเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ระเบียงรายประดับด้วยภาพปูนปั้น ช่างฝีมือเป็นสตรีในบ้านบิง ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอระฆัง และฌาปณสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระสมุห์โข่ พ.ศ. 2450-2460

2. พระอธิการอุ่ม สีลวิสุทฺโธ พ.ศ. 2460-2502

3. พระครูพิศาลภัทรคุณ (พรม อติภทฺโท) นามสกุล ดำรงธรรม พ.ศ. 2503-2543

4. พระครูสิริสุตาลังการ (พระมหาอิ่ม หิตกาโร) นามสกุล นามกระโทก พ.ศ. 2543- เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 13

- เจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่พรม

- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านบิง หมู่ที่ 8 ตำบลโชคชัย อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา 30190
แผนที่:https://goo.gl/maps/jsnceQ7b2UVHg9RV8

คลังภาพ

ซุ้มประตูโขง
โบสถ์
โบสถ์
หน้าบันโบสถ์
พระประธานในโบสถ์
พระประธานในโบสถ์
เพดานดาว
เพดานดาว
ภาพจิตรกรรมในโบสถ์ฝีมือสตรีช่างพื้นถิ่น
ภาพจิตรกรรมในโบสถ์ฝีมือสตรีช่างพื้นถิ่น
ประตูโบสถ์
ประตูโบสถ์
ซุ้มประตูโบสถ์
หน้าต่างโบสถ์
หน้าต่างโบสถ์
หน้าต่างโบสถ์
ซุ้มหน้าต่างโบสถ์
เสมา
เสมา
กุฏิสงฆ์
กุฏิสงฆ์
หน้าบันกุฏิสงฆ์
หน้าบันกุฏิสงฆ์
ศาลาการเปรียญ
หน้าบันศาลาการเปรียญ
หน้าบันศาลาการเปรียญ
ศาลาเอนกประสงค์
หอกลอง
หอกลอง
หอกลอง
เจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่พรม
เจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่พรม
เจดีย์อนุสรณ์หลวงปู่พรม
ฌาปนสถาน
หน้าบันฌาปนสถาน
ศาลาเอนกประสงค์
ฌาปนสถาน

รายการอ้างอิง

  1. พระครูพิทักษ์ปทุมากร. (2551). พระกระโทกกับวัดโชคชัย. นครราชสีมา: วัดใหม่สระประทุม.
  2. พิทักษ์ จิตต์กระโทก และคนอื่นๆ. (2556). บันทึกประวัติศาตร์ 109 ปี อำเภอกระโทก. นครราชสีมา: วัดใหม่สระประทุม.
  3. สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมา. ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ. บัญชีรายชื่อวัดในจังหวัดนครราชสีมา (ปี 2560). สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2562, จาก http://sites.google.com/a/secondary33.go.th/sanakngan-phraphuthth-sasna-canghwad-nkhrrachsima/baychi-ray-chux-wad-ni-canghwad-nkhrrachsima-pi2560