ประวัติการสร้าง
เมืองนครราชสีมาเป็นหัวเมืองใหญ่ของมณฑลอีสานและเป็นเมืองสำคัญของสยามตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับเมืองนครราชสีมา อาทิ เคยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพระราชกรณียกิจอยู่หนหนึ่ง นับได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าภูมิใจอย่างยิ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระองค์ต้องปฏิรูปประเทศในทุกด้านเป็นการด่วน หนึ่งในนั้นคือการปฏิรูปหัวเมืองต่าง ๆ ให้เจริญ ซึ่งรวมถึงเมืองนครราชสีมาด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มด้วยการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารราชการใหม่เป็นแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ซึ่งเมืองนี้เรียกว่า มณฑลนครราชสีมา พร้อมกันนั้นพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระพิเรนทรเทพเป็นข้าหลวงเมืองนครราชสีมา เรียกว่า ข้าหลวงประจำหัวเมืองลาวกลาง โดยมีกองว่าราชการอยู่ที่เมืองนครราชสีมา
จากนั้นใน พ.ศ. 2433 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายแรกจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดทางรถไฟสายนครราชสีมาเมื่อ พ.ศ. 2443 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เมืองนครราชสีมาและเมืองอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในเวลาต่อมา
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงปฏิรูปเมืองนครราชสีมาจนเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับ ประชาชนจังหวัดนครราชสีมาทุกหมู่เหล่าจึงได้ร่วมใจกันจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ทรงมีแก่จังหวัดนครราชสีมา
ลักษณะ พระบรมรูปทรงยืน ฉลองพระองค์เต็มยศทหารบก พระหัตถ์ขวาทรงถือพระมาลา พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระแสงกระบี่ หล่อด้วยโลหะ
ขนาด หนึ่งเท่าเครึ่งของพระองค์จริง
บุคคลสำคัญ
บุคคล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, อนุสาวรีย์, กษัตริย์และผู้ครองนคร
เว็บไซต์: | https://clrem-opac.sut.ac.th/opac2/BibDetail.aspx?bibno=179104 |