วัดเดิม


รายละเอียด

ประวัติความเป็นมา

    ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2000 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2478 เดิมอาณาบริเวณวัดมีพื้นที่อยู่ในเขตปราสาทหินพิมาย สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก กรมหมื่นเทพพิพิธได้มาตั้งก๊กขึ้น เรียกว่า ก๊กพิมาย และเรียกวัดดังกล่าวว่า วัดเจ้าพิมาย เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่สร้างมาแต่โบราณ

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอกลอง-ระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. พระครูศีลวิสุทธิพรต (ทุย) พ.ศ. 2470-2489

2. พระมหาเชย พ.ศ. 2489-2495

3. พระครูศีลวิสุทธิพรต (แก้ว) พ.ศ. 2495-2499

4. พระอิ่ม

5. พระครูศีลวิสุทธิพรต (เกิด) พ.ศ. 2502-2513

6. พระชิต ชิตมาโร รักษาการ พ.ศ. 2514-2515

7. พระครูวิสุทธิพรตธำรง (เขียว สนฺตจิตฺโต) พ.ศ. 2515

8. พระมหาเต็มใจ ภูริเมธี พ.ศ. 2539

9. หลวงพ่อ ดร.พระโพธิวรญาณ (หลวงพ่อเขียว) -2559

สิ่งที่น่าสนใจ

- หลวงพ่อวิมาย อ่านว่า วิมายะ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณคู่บ้านคู่มือง พระศักดิ์สิทธิ์เมืองพิมาย พระพุทธรูปหลวงพ่อดำ และหลวงพ่อแดง ปางมารวิชัย ศิลปะสมัยอยุธยา ทั้ง 3 องค์ เป็นพระประธานในอุโบสถเก่า

- โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ

- ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

 สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 11

- สถานที่ถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา อำเภอพิมาย วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เกียรติประวัติ

- วัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. 2527

- วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2531

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด, วัดเจ้าพิมาย, วัดประจำอำเภอ

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:36 ถนนสระศรีโบราณ หมู่ที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง.
  2. ข้อมูลสถานที่จัดพิธีถวายดอกไม้จันทน์ พระราชพิธีถวายพระเพลิง ในจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 26 ต.ค. 2560. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2560, จาก http://wekorat.com/2017/10/13/king-rama-9-cremation-26-oct-korat/
  3. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2542). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
  4. วัดเดิม. (2560). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2562, จาก http://www.facebook.com/korat.in.the.past/photos/a.1019518998116865.1073741868.740445486024219/1440158239386270/?type=3&theater