วัดสระเพลง


รายละเอียด

ประวัติ

    ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2430 สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2481 วัดนี้ตั้งสมัยใดไม่มีหลักฐานแน่ชัด สัณนิฐานว่าสร้างก่อน พ.ศ. 2430 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ใต้ถุนสูง และตั้งอยู่ติดกับขอบสระเพลง ซึ่งเป็นสระใหญ่ เป็นสระโบราณสถาน ที่คู่บ้านคู่เมืองของอำเภอพิมายมาตั้งแต่อดีตกาล เนื่องจากวัดตั้งอยูใกล้สระเพลง จึงตั้งชื่อว่า "วัดสระเพลง" ตามสระน้ำสืบมา โดยมีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 รองจากวัดเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 ได้มีชาวนาใจบุญซึ่งมีที่นาอยู่ใกล้เคียงบริเวณวัดในสมัยนั้น ได้บริจาคที่ดินดังกล่าวถวายให้แก่ทางวัด จำนวนประมาณ 6 ไร่ วัดสระเพลงจึงได้ย้ายเข้ามาสร้างใหม่ในพื้นที่ปัจจุบันนี้

ลักษณะวัด พัทธสีมา

ประเภทวัด วัดราษฎร์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอกลอง-ระฆัง ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

1. หลวงพ่อเพชร

2. พระช้าง

3. พระทอง

4. พระจันทร์

5. พระครูพุทธชัยธำรง (จีน) พ.ศ. 2450-2485

6. พระนงค์ สุขปัญญา

7. พระเเดง

8. พระอธิการหม้อ สํวโร -2520

9. พระใบฎีกาชิต ติกฺขวีโร พ.ศ. 2520-2537

10. พระอธิการสมเดช รกฺขิตธมฺโม พ.ศ. 2538-2543

11. พระอธิการแถว -พ.ศ. 2547

11. พระครูสุตธรรมประคุณ (ประเสริฐศักดิ์ ปญฺญาปสุโต) พ.ศ. 2557- เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจ

- พระบรมธาตุเจดีย์ สร้างโดย พระครูพุทธัชธัมรง หรือ พระครูปลัดจีน เจ้าอาวาสรูปแรกได้จัดสร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุปกิจจสมุปบาทธรรม และพระพุทธรูปธาตุ การก่อสร้างได้ยึดถือแบบอย่างมาจากพระธาตุพนม ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 ได้สร้างมณฑปและรอยพระพุทธบาทจำลองขึ้นเป็นแห่งแรกใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

- รอยพระพุทธบาทจำลองพร้อมมณฑปครอบรอยพระพุทธบาท

- พระพุทธชินสีห์ศากยบรมศาสดา หน้าตัก 10.29 เมตร สูง 14.49 เมตร ที่สูงใหญ่ที่สุดใน อ.พิมาย และใน จ.นครราชสีมา เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม วิถีไทย วิถีพุทธด้วย

หัวเรื่อง

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

หมวดหมู่

ศาสนสถาน

คำสำคัญ

วัด

ข้อมูลการติดต่อ

ที่อยู่:บ้านใหม่ หมู่ที่ 16 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 30110

รายการอ้างอิง

  1. กระทรวงศึกษาธิการ. กรมการศาสนา. (2542). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 17. กรุงเทพฯ: กระทรวง.