ชื่อวิทยาศาสตร์ | Butea monosperma (Lam.) Taub. |
ชื่อวงศ์ | LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE |
ชื่ออื่น | กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร-สุรินทร์) จาน (อุบลราชธานี) ทองกวาว ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ (ภาคกลาง) ทองต้น (ราชบุรี) |
ลักษณะวิสัย: | ไม้ขนาดกลาง สูง 8-15 ม. |
ต้น | ต้นส่วนมากจะคดงอ และแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาคล้ำ แตกระแหงเป็นร่องตื้น ๆ |
ใบ | ใบประกอบที่ออกจากจุดปลายก้านเดียวกัน 3 ใบ ติดเรียงเวียนสลับ แน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปป้อม โคนเบี้ยว ปลายมน ลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางจะมีก้านใบยาวและใหญ่ที่สุด |
ดอก | ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ส่วนฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกสีแสดที่เป็นสีเหลืองหายาก ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่มี 5 กลีบ เกสรผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ 1 อัน อีก 9 อัน โคนก้านเชื่อม ติดกันเป็นหลอด |
ผล | ฝักแบน กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวถึง 14 ซม. มีขนปกคลุมหนาแน่น ภายในมีเมล็ดแบน ๆ 1 เมล็ด |
การขยายพันธุ์ | ขยายพันธ์ุได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และเหง้า แต่ที่นิยม และได้ผลที่สุดคือ การเพาะเมล็ด |
การใช้ประโยชน์: | |
ด้านสมุนไพร | ดอก ใช้ขับปัสสาวะ บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ ยาบำรุงกำลังใช้พอกฝี และสิว รักษาโรคท้องขึ้น ใช้บำบัดพยาธิ พยาธิ ริดสีดวง น้ำเลี้ยงหรือยาง แก้ท้องร่วง |
ด้านการแปรรูป | เนื้อไม้เมื่อแห้งมีน้ำหนักเบาและหดตัวมาก ใช้ทำกระดาษกรุบ่อน้ำ ทำเรือขุด ใยจากเปลือกใช้ทำเชือก ดอกสีแดง ใช้ย้อมผ้า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นชาชง ดื่มบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ |
พฤกษาพรรณบรรณสาร : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
เกษตรกรรม