61 |
|
ตะกุ๋ย
- มือโกยดิน หรือสุนัขใช้ขาหน้าโกยดิน เช่น หมามันตะกุ๋ยดิน
|
62 |
|
ตะเก้ตะกัง
- เก้ ๆ กัง ๆ ขวาง ๆ รี ๆ
|
63 |
|
ตะเก้าะ
- ดูคำว่า เก้าะ
|
64 |
|
ตะแก
- กรรไกร ตะไกร
|
65 |
|
ตะแกร๋ง (น.)
- เครื่องมือชนิดหนึ่งสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ในการจับปลาคู่กับสวิง
|
66 |
|
ตะโกก
- สันหลังปลา โขดงหลังปลา
|
67 |
|
ตะโก๋ซะ (น.)
- ผลตะโกที่แก่จัด แต่ยังไม่สุกนำมาลวกน้ำร้อน แล้วนำไปคลุกขี้เถ้าทิ้งไว้ ๑๕ วัน เมื่อจะรับประทานนำไปล้างน้ำจะได้ตะโกที่ไม่ฝาด ไม่มียาง มีรสหวานเล็กน้อยและเนื้อร่วนซุย
|
68 |
|
ตะไกร๋ขะหนีบหมาก (น.)
- กรรไกรหนีบหมาก
|
69 |
|
ตะของ
- เจ้าของ
|
70 |
|
ตะขู่ตะคอก
- พูดขู่เสียงดัง ตะคอก
|
71 |
|
ตะเข่ใหญ่กั่ววัง
- (สำนวน) เคยได้ดีมีฐานะเมื่อตกต่ำก็วางตนอย่างคนธรรมดาได้ยาก เปรียบได้กับสำนวน จระเข้ใหญ่คับคลอง
|
72 |
|
ตะเข่
- จระเข้
|
73 |
|
ตะครอง (น.)
- ชื่อต้นไม้ เป็นพุ่มมีหนามแหลม บางทีพูดเป็นตะคอง เช่น ลำตะคอง
|
74 |
|
ตะครุ๊บก๊บ
- (สำนวน) เป็นคำพูดปลอบใจ เมื่อเด็กหกล้มคว่ำลงกับพื้น
|
75 |
|
ตะครุ่บตะคราน (ว.)
- หกล้ม ล้มลุกคลุกคลาน
|
76 |
|
ตะคอง (น.)
- ชื่อลำน้ำที่ไหลผ่านเมืองนครราชสีมา เดิมเรียก ลำตะครอง
|
77 |
|
ตะคั่ว
- คว้า ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว
|
78 |
|
ตะคุ่ (น.)
- ไม้ตระกูลอ้อแขม ขึ้นตามคันนาหรือป่า นำมาทำฝายุ้งข้าว
|
79 |
|
ตะไคร่ (น.)
- ต้นตะไคร้
|
80 |
|
ตะงอย
- เนินดินเล็ก ๆ ตลิ่งที่ยื่นล้ำเข้าไปในแม่น้ำลำคลอง
|