headerBG
m1m2m3m4m5m6m7m8m9

        ผลิตภัณฑ์มีดบ้านลองตองมีหลายชนิด  เช่น พร้า มีดกายหวังมีดถางป่า มีดบ้องพร้า มีดบ้องโม๊ะ มีดบ้องหัวตัด มีดผ่าหวด มีดพร้าขอหรือมีดตะขอ มีดโม๊ะ หรือ มีดอีโต้ มีดสะหนากหรือ กรรไกรหนีบหมาก มีดหัวตัด ส่วนใหญ่จะเป็นการตีตามความต้องการของลูกค้าและพ่อค้าที่มาสั่งถึงบ้าน นอกจากนั้นการหารายได้อีกทางหนึ่งคือการนำมีดออกไปจำหน่ายเองตามตลาดทั้งภายในตัวเมืองและตามหมู่บ้าน บางครั้งก็นำไปขายตามต่างจังหวัด และจำหน่ายตามงานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งจากการจัดของภาครัฐและภาคเอกชนอยู่เป็นประจำ

คนตีมีด... บ้านลองตอง

คนตีมีด... บ้านลองตอง

คนตีมีด... บ้านลองตอง


การจำหน่ายผลิตภัณฑ์

ในอดีต
        การนำผลิตภัณฑ์ไปขายในตัวเมืองนครราชสีมา จะนัดกันไปเป็นกลุ่ม ใช้วิธี หาบ หาม หรือ คอน เดินเท้า ออกจากหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เพื่อนำสินค้าไปขายยังตัวเมืองนครราชสีมา เมื่อไปถึงต่างคนต่างแยกย้ายเพื่อขายสินค้า บางรายก็นำสินค้าไปส่งที่ร้านค้าส่งเจ้าประจำ บางรายก็ไปขายเอง ซึ่งจะขายได้ราคามากกว่าการขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลาง  เมื่อขายเสร็จจะไปพบกัน ณ จุดนัดพบ ที่นัดหมายกันไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้เดินทางกลับหมู่บ้านพร้อมกันในช่วงเย็น
        สำหรับบางครัวเรือนที่นำสินค้าออกไปขายยังต่างอำเภอหรือจังหวัดใกล้เคียง โดยใช้กองคาราวานเกวียนนั้น คณะที่จะไปกับคาราวานเกวียนจะนำสินค้าที่ต้องการขายไปพร้อมเสบียงอาหาร

ปัจจุบัน
        การขายผลิตภัณฑ์มีทั้งภายในและต่างจังหวัด เช่น งานแสดงสินค้าต่างๆ ทั้งการจัดงานของภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากการเดินทางมีความสะดวก และผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ทำให้มีพ่อค้าคนกลางและพ่อค้าหาบเร่มารับสินค้าที่เตาไปจำหน่าย นับว่าสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดมากจนผลิตสินค้าไม่ทัน บางครั้งต้องมานั่งรอรับสินค้าที่หน้าเตา ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่จะตีตามความต้องการของชาวบ้านและพ่อค้าที่มาสั่งถึงโรงตี

ราคา…สร้างแรงจูงใจ
        ราคาการจำหน่ายต่อเล่ม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน และวัสดุในการตีเป็นผลิตภัณฑ์ โดยคุณค่าในเชิงประโยชน์ใช้สอยจะต้อง มีความแข็ง ทน คม พอใช้ได้ มีความสวยงามตามที่สั่งได้ ใช้ได้ง่ายเหมาะมือ ราคาย่อมเยาโดยราคาอาจจะเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลงตามกลไกการตลาด

 

 

 

 
footerBG1

หน้าแรก | ประวัติความเป็นมา | กระบวนการตีมีด | ผลิตภัณฑ์
เอกลักษณ์ | วิถีชีวิต...คนตีมีด | รางวัลเกียรติยศ | รายการอ้างอิง | คณะผู้จัดทำ

© 2013 ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ถนนมหาวิทยาลัย ตำบลสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 0-4422-3061 โทรสาร 0-4422-3060