481 |
 |
ขะน่อง (น.)
- ขาพับ ด้านหลังของหัวเข่า
|
482 |
 |
ขะม่ม (ก.)
- ขม้ำ อ้าปากงับกินเร็ว กินคำโต ๆ อย่างเร็ว ขะโม่ม ก็พูด
|
483 |
 |
ขะมั่น (ก.)
- กัด ใช้กับสุนัข เช่น ระวังนะเดี๋ยวหมามันจิขะมั่นเอา
|
484 |
 |
ขะมำหน่า (ก.)
- ล้มไปข้างหน้า ล้มเอาหน้าลง
|
485 |
 |
ขะเมนม่วน (ก.)
- ล้มลงไปด้วยไม่ได้ตั้งท่า ล้มโดยไม่ได้ตั้งตัว โดยเอาหัวลง
|
486 |
 |
ขะโม่ม
- ดูคำว่า ขะม่ม
|
487 |
 |
ขะยาบ (ก.)
- ขย้ำ เอาปากงับกัด
|
488 |
 |
ขะยึ่กขะยือ (ก.)
- ทำฮึดฮัดห้ามไม่ฟัง อวดเก่ง เช่น เวลามันเมาก็ขะยึ่กขะยือไปอย่างนั้นเอง จะให้สู้จริง ๆ ก็ไม่สู้
- ขยันมาก อยากมีอยากได้มาก
|
489 |
 |
ขะยึ่ก (ก.)
- เร่ง เร็ว ๆ ขยับตัว ไหวตัว
|
490 |
 |
ขะยือ (ก.)
- เขย่งตัวหรือปลายเท้าเอื้อมหรือคว้าเอาสิ่งของ โขย่ง หรือพยุงตัวให้สูงขึ้นเพื่อออกแรง
|
491 |
 |
ขะยุ้บ (ก.)
- ขมุบ เม้ม ขมิบ
|
492 |
 |
ขะเย้บ (ก.)
- ขยับ เขยิบ กระเถิบ เช่น เอ้าใครอยากฟังขะเย้บเข่า (เข้า) มาใกล้ ๆ
|
493 |
 |
ขะเยาะ (ก.)
- เหยาะ หยดเติมแต่น้อยให้พอต้องการ การกระทำเบา ๆ เช่น ตำขะเยาะ ๆ
|
494 |
 |
ขะรั่ว (น.)
- รั้ว คอกรั้ว
|
495 |
 |
ขะหนาบ (ก.)
- ตี หรือทำให้กลัว เช่น ดื้ออย่างนี้เดี๋ยวจะขะหนาบให้ดู
|
496 |
 |
ขะหนีบ (ก.)
- กด ตัด บีบ เช่น ขอตะไกรทีข้าจะขะหนีบหมากแข็ง
|
497 |
 |
ขะหม่า (ก.)
- ประหม่า
|
498 |
 |
ขะหย่ม (ก.)
- สั่น ทำให้เคลื่อนไหวไปมา
|
499 |
 |
ขะหยินฟัน (ก. )
- ยิงฟัน
|
500 |
 |
ขะเหนิก (น.)
- คันนาค่อนข้างโต แนวดินที่พูนขึ้น บางทีออกเสียงเป็น ผะเหนิก
|