1381 |
 |
ตะเข่ใหญ่กั่ววัง
- (สำนวน) เคยได้ดีมีฐานะเมื่อตกต่ำก็วางตนอย่างคนธรรมดาได้ยาก เปรียบได้กับสำนวน จระเข้ใหญ่คับคลอง
|
1382 |
 |
ตะเข่
- จระเข้
|
1383 |
 |
ตะครอง (น.)
- ชื่อต้นไม้ เป็นพุ่มมีหนามแหลม บางทีพูดเป็นตะคอง เช่น ลำตะคอง
|
1384 |
 |
ตะครุ๊บก๊บ
- (สำนวน) เป็นคำพูดปลอบใจ เมื่อเด็กหกล้มคว่ำลงกับพื้น
|
1385 |
 |
ตะครุ่บตะคราน (ว.)
- หกล้ม ล้มลุกคลุกคลาน
|
1386 |
 |
ตะคอง (น.)
- ชื่อลำน้ำที่ไหลผ่านเมืองนครราชสีมา เดิมเรียก ลำตะครอง
|
1387 |
 |
ตะคั่ว
- คว้า ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว
|
1388 |
 |
ตะคุ่ (น.)
- ไม้ตระกูลอ้อแขม ขึ้นตามคันนาหรือป่า นำมาทำฝายุ้งข้าว
|
1389 |
 |
ตะไคร่ (น.)
- ต้นตะไคร้
|
1390 |
 |
ตะงอย
- เนินดินเล็ก ๆ ตลิ่งที่ยื่นล้ำเข้าไปในแม่น้ำลำคลอง
|
1391 |
 |
ตะเง่อะตะง่ะ
- ดูคำว่า ต่ะเง่อะ
|
1392 |
 |
ต่ะเง่อะต่ะเงย
- ดูคำว่า ตะเง่อะ
|
1393 |
 |
ตะเง่อะตะเงิ่น
- ดูคำว่า ตะเง่อะ
|
1394 |
 |
ตะเง่อะ
- เงอะงะ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ หลง ๆ ลืม ๆ ตะเง่อะตะง่ะ ตะเง่อะตะเงิ่น ตะเง่อะตะเงย ก็พูด
|
1395 |
 |
ตะเง่าตะงอด
- หน้าเง้าหน้างอ ออดอ้อน
|
1396 |
 |
ตะเง่าะ
- ดูคำว่า เก้าะ
|
1397 |
 |
ตะจ่น
- จนกระทั่ง
|
1398 |
 |
ตะโนน
- เนิน มูลดินที่สูง ตะโมน ก็พูด
|
1399 |
 |
ตะบ๋อง (น.)
- กระบอง
|
1400 |
 |
ตะบ๊ะ (น.)
- ชาม กาละมัง ภาชนะใส่ข้าวใส่แกง
|