181 |
|
เข่ามุ่น (น.)
- ข้าวสารที่เมล็ดหักมากเป็นข้าวหัก ข้าวป่น
|
182 |
|
เข่าโมย
- ขโมย
|
183 |
|
เข่าย่กสง (ว.)
- อุ้มชู
|
184 |
|
เข่าเย็น
- ข้าวสุกหรือข้าวสวยที่เหลือ ข้าวสุกเก่า
|
185 |
|
เข่ารวงกูด (น.)
- ข้าวที่รวงหงิกงอ ไม่เจริญ ไม่มีเมล็ด
|
186 |
|
เข่าร่อนแกงร่อน
- (สำนวน) ทำการใดเมื่อเวลาจวนตัวต้องทำอย่างรีบร้อน
|
187 |
|
เข่าเรียงเม็ด (ว.)
- หลังจากรับประทานอาหารแล้วต้องพัก เช่น กิ๋นเข่าอิ่มใหม่ ๆ ยุดให่เข่าเรียงเม็ดก่อนยังค่อยทำงาน (กินข้าวอิ่มใหม่ ๆ หยุดพักก่อนจึงค่อยทำงาน)
|
188 |
|
เข่าเรี่ย (น.)
- รวงข้าวที่ตกอยู่หลังการเก็บเกี่ยว ต่อมางอกขึ้นห่าง ๆ กัน
|
189 |
|
เข่าศิล (ก.)
- รักษาศีลในวันอุโบสถศีล มักเข่าศิลในช่วงเข้าพรรษา
|
190 |
|
เข่าสัง (น.)
- ข้าวสารที่เมล็ดสวยไม่มีหักป่น
|
191 |
|
เข่าสูน (ก.)
- เข้าสิงร่าง หรือมาเข้าทรง
|
192 |
|
เข่าหัวหม่อ (น.)
- ข้าวปากหม้อ
|
193 |
|
เขาหา (ก.)
- การวาน การขอแรง เช่น เขาหาไปเกี่ยวเข่า หมายถึง การวานไปเกี่ยวข้าว เขาหาไปย่กบ้าน หมายถึง การขอแรงไปช่วยสร้างบ้าน
|
194 |
|
เข่าเหนียวหัวหงอก
- ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวดำใส่ถั่วดำ โรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด
|
195 |
|
เข่าเหม่าเป็นขี่หมา (น.)
- ข้าวเม่าที่ตำด้วยสากอุบหรือสากเหมิ่ง ซึ่งทั้งเปลือกทั้งเมล็ดข้าวติดกันเป็นก้อน สาเหตุเพราะคั่วเมล็ดข้าวเปลือกไม่ได้ที่ เรียกว่าคั่วอ่อนไป ถ้าคั่วแก่ไปข้าวเม่าจะแหลกไม่เป็นเมล็ดข้าวเม่า เรียกว่า เข่าเหม่ามุ่น รวงข้าวที่จะนำมาตำข้าวเม่าพอดีคือสุกเหลืองที่ปลายรวง ส่วนโคนรวงยังเขียวอยู่ ถ้าเก็บอ่อนกว่านี้เวลาตำจะเป็นข้าวเม่าขี้หมาคือติดกันเป็นก้อน
|
196 |
|
เข่าเหม่าโปร
- ข้าวเม่าที่เป็นข้าวจ้าว
|
197 |
|
เข่าเหม่าสาด (น.)
- กระยาสารท
|
198 |
|
เข่าเหม่าอ่อน (น.)
- ข้าวเม่าที่เป็นข้าวเหนียว
|
199 |
|
เข่าเหย็น (น.)
- อาหารมื้อกลางวัน เพราะหุงไว้ตั้งแต่ตอนเช้า จึงเย็นเมื่อกินกลางวัน
|
200 |
|
เข่า
- ข้าว
|