161 |
 |
เข่ากันคึ่บ
- เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย
|
162 |
 |
เข่าขี่หมา
- ดูคำว่า เข่าเหม่าเป็นขี่หมา
|
163 |
 |
เข่าแข็ง
- ข้าวสวย ข้าวเจ้า
|
164 |
 |
เข่าครัวเอามีดตั๊ดหัวน่ำตาร่วงเพ้าะ
- (ปริศนาคำทาย) หัวหอม
|
165 |
 |
เข่าค่ำ (ว.)
- เวลาค่ำ หรือเวลาหัวค่ำ หรือเวลาอาหารเย็น
|
166 |
 |
เข่าซ่อมมือ
- ข้าวสารที่ตำด้วยครก
|
167 |
 |
เข่าดัง
- ข้าวตัง ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือก้นกะทะ
|
168 |
 |
เข่าต้ม (น.)
- ข้าวต้มมัด
|
169 |
 |
เข่าตอก (น.)
- ข้าวตอก นำข้าวเปลือกไปคั่วจะแตกออกเป็นดอกสีขาว
|
170 |
 |
เข่าเตี๋ยว
- ก๋วยเตี๋ยว
|
171 |
 |
เข่าน่ำช่ำปลา
- (สำนวน) ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์ ทำนองเดียวกับในน้ำมีปลาในนามีข้าว หรือข้าวเหลือเกลืออิ่ม
|
172 |
 |
เข่าเบือ
- ข้าวสารคั่วตำให้ป่นใช้ประกอบอาหาร เช่น ลาบ
|
173 |
 |
เข่าปั๊ดลาน
- ข้าวเปลือกที่หลงเหลือหลังจากการตีข้าว หรือนวดข้าว ต้องเก็บโดยกวาดเอามาฝัดแยกดินออก
|
174 |
 |
เข่าปาด
- ขนมเปียกปูน
|
175 |
 |
เข่าป่า
- ข้าวที่นำไปกินระหว่างพักในป่า ข้าวที่นำไปเรียกว่า เข่าผอก ดูคำว่า เข่าผอก ประกอบ
|
176 |
 |
เข่าเปียก
- ข้าวต้ม (ข้าวที่ต้มใส่น้ำให้สุก)
|
177 |
 |
เข่าโป่ง
- ข้าวเกรียบว่าว
|
178 |
 |
เข่าผอก
- ข้าวที่ห่อด้วยใบตอง หรือใส่กระบอกเพื่อนำไปกินระหว่างทาง ดูคำว่า เข่าป่า ประกอบ
|
179 |
 |
เข่าฝั๊ก
- (สำนวน) ลืมวิชาที่เรียนมา เข้าหม้อ
|
180 |
 |
เข่าแพ้ะ
- อาหารชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นข้าวต้มปรุงด้วยฟักทอง ยอดฟักทอง บวบ แตงโมอ่อน หน่อไม้ ยอดตำลึง ใบโหระพา ข้าวโพดอ่อน เนื้อหมูหรือไก่ น้ำกะทิ (บางแห่งไม่ใส่) เป็นต้น
|