321 |
 |
ก้าม (ก.)
- แห้งหมาด ๆ เช่น ดินเปียกกำลังจะแห้ง เรียกว่า ดินก้าม
|
322 |
 |
ก๋าลงสำนั่ก
- (สำนวน) เงียบเชียบหลังจากมีงานอึกทึกครึกโครม หรือหลังจากมีคนมาร่วมกันมาก ๆ
|
323 |
 |
กาละเปา
- ซาลาเปา ขนมชนิดหนึ่งของจีน
|
324 |
 |
กาละมัง
- กะละมัง ชามอ่างทำด้วยโลหะเคลือบ
|
325 |
 |
กาละแม
- กะละแม ขนมเหนียวสีดำ
|
326 |
 |
ก้ำกล๋าง (ว.)
- กึ่งกลาง
|
327 |
 |
กำกั๊บ (น.)
- ปลาหมอช้างเหยียบ บางทีเรียกว่า กำปรั๊บ
|
328 |
 |
ก๋ำขี่ไม่ทันควย
- (สำนวน) จับตัวคนทำผิดไม่ได้ทันท่วงที เช่น มัวแต่เซ่ออยู่เลยก๋ำขี่ไม่ทันควยนั่นเด่
|
329 |
 |
กำด้น (น.)
- ท้ายทอย
|
330 |
 |
กำดึ๋ง (ก.)
- คิดถึง ห่วง
|
331 |
 |
กำปรั๊บ (น.)
- ปลาหมอช้างเหยียบ
|
332 |
 |
กำปื้ด (น.)
- พื้นเพ ภูมิหลัง หรือ กำพืด มักใช้ว่า เขารู่ขี่กำปื้ดเมิ้ดแล่ว (เขารู้กำพืดหมดแล้ว)
|
333 |
 |
กำเปือก (น.)
- ฟองน้ำที่ผิวหน้าขณะหม้อข้าวเดือด หรือฟองน้ำเจือของโสโครก หรืออาการน้ำลายแตกฟอง เช่น พูดจนปากเป็นกำเปือก
|
334 |
 |
กำพวม (ว.)
- กำลัง เช่น อย่าเรียกหลายฉันกำพวมมา
|
335 |
 |
กำรอ (ว.)
- ประคับประคอง ทนุถนอม เช่น กำรอพอปานไข่ในหิน
|
336 |
 |
กำรึง (ก.)
- ทำให้เส้นสายในร่างกายตึงหรือเขม็งเกลียว
|
337 |
 |
กำรึน (ก.)
- สยิวกาย เช่น พอเขาถูกตัวฉันก็กำรึนเจ่นตัวสั่น
|
338 |
 |
กำสั๊บกำส่าย
- กระสับกระส่าย
|
339 |
 |
ก่ำ
- อาการหน้าแดง หรือตึง ๆ เพราะดื่มเหล้า บางทีออกเสียงเป็น กร่ำ
|
340 |
 |
ก๋ำ
- ก. การงดเว้นกินอาหารหรือการปฏิบัติ เช่น หญิงแม่ลูกอ่อนต้องก๋ำของกิน คือ งดกินอาหารผิดสำแดง เช่น ชะอม ปลาชะโด ปลาช่อนคางลาย เป็นต้น ผู้เรียนคาถาอาคมต้องก๋ำ เช่น ไม่เดินลอดราวตากผ้า ไม่ให้หญิงเหยียบที่นอน เป็นต้น
- น. กรรม คือ การกระทำ มีคำร้องเล่นว่า ก๋ำๆๆ ได้ก๊ะอีด๋ำพอปานได้ก๊ะผี ไหนจิซั่กผ่านุ่ง ไหนจิกุ่งไปขี่ (กรรมๆๆ ได้กะอีดำเหมือนได้กับผี ไหนจะซักผ้านุ่ง ไหนจะกุ่งไปขี้)
|