ข้อมูลอำเภอปักธงชัย
สมัยโบราณปักธงชัยเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ขอมเรืองอำนาจ ทั้งนี้สันนิษฐานได้จากเขตอำเภอปักธงชัยมีซากปรักหักพังของปรางค์ หรือ เทวาลัยหลายแห่งที่เป็นศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่ขอมนิยมสร้างตามเมืองต่างๆ ที่ตนปกครองอยู่ใหญ่บ้าง เล็กบ้างตามความสำคัญของแต่ละเมือง
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานที่ปรากฏตามแผนที่ยุทธศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาได้ปรากฏชื่อ เมืองปัก ตั้งอยู่ใกล้เมืองนครราชสีมา ความสำคัญคือ เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศใต้ของเมืองนครราชสีมา เพื่อเป็นกองระวังหน้าคอยสอดแนมข้าศึกและคอยปะทะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ข้าศึกยกทัพประชิดเมืองนครราชสีมาเร็วเกินไป เมืองปักในสมัยนี้จึงถูกตั้งและเรียกว่า “ด่านจะโปะ” เช่นเดียวกับ ด่านเกวียน ด่านจอหอ ด่านขุนทด เป็นต้น
ในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2321 ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ยกกองทัพไปปราบเมืองเวียงจันทน์และได้รับชัยชนะขากลับ จึงได้กวาดต้อนเชลยชายหญิงพร้อมกับเพี้ยอุปราช และให้ไปพักอาศัยอยู่ที่ด่านจะโปะ ครั้นชาวเมืองเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักฐานมั่นคงแล้ว เจ้าพระยานครราชสีมา(ปิ่น) จึงกราบบังคมทูลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตตั้งด่านจะโปะเป็นเมือง เรียกว่า “เมืองปัก” (ยังไม่มีคำว่าธงชัย) และได้กราบบังคมทูลขอให้เพี้ยอุปราชเป็นเจ้าเมืองปักคนแรก พระราชทานนามว่า “พระยาวงศาอรรคราช” (ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นต้นตระกูลวรธงไชย ขณะนี้) เมืองปักในสมัยนี้เป็นเมืองชั้นตรีขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อ พ.ศ. 2323
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ยกทัพมายึดเมืองนครราชสีมาและได้กวาดต้อนชาวเมืองไป แต่ถูกคุณหญิงโมและชาวเมืองนครราชสีมาต่อสู้กับทหารเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะและได้พระราชทานนามว่า “ท้าวสุรนารี” การกวาดต้อนเชลยคราวนั้น ทหารเจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์ ได้มากวาดต้อนชาวเมืองปักทั้งชาวไทยโคราช และชาวเวียงจันทน์ เพื่ออพยพมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ต่างก็มีที่ทำมาหากินสุขสบายมาเป็นเวลา 47 ปี จึงพร้อมใจกันจับอาวุธต่อสู้ขับไล่ทหารของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้กลับไป
พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงระเบียบราชการปกครองเป็นแบบเทศาภิบาล เมืองปักจึงถูกยุบลงเป็นอำเภอปักธงชัย ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา โดยมีพระศรีพลรัตน์ (ยะฟะระ เกตุเลขา) ชาวไทยมุสลิม เป็นนายอำเภอปักธงชัยคนแรก
พ.ศ. 2508 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้แก้ไขชื่อปักธงไชย (ไม้มลัย) เป็นปักธงชัย (ไม้หันอากาศ) เพื่อให้ตรงตามอักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถานมาจนทุกวันนี้
รายการอ้างอิง
- อำเภอปักธงชัย. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2556, จาก http://www.oknation.net/blog/guidepong/2009/03/01/entry-23
- อำเภอปักธงชัย. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2556, จาก http://www.amphoe.com/menu.php
จังหวัด/อำเภอ/ตำบล: หมวดหมู่:
หัวเรื่อง:
ผลลัพธ์การแสดงข้อมูลพบ 206 รายการ (หน้า 3/3)
สำนักสงฆ์เจดีย์น้ำประวัติความเป็นมา
ประเภทวัด วัดราษฎร์
อาคารเสนาสนะ ประกอบด้ว อ่านต่อ...
เส้นไทย คั่วหมี่ หมี่โคราชพร้อมน้ำปรุงสำเร็จรูปความเป็นมา
ผลิตจากข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ จากพื้นที่การผล อ่านต่อ...
หลวงพ่อแสน : พระพุทธรูปไม้ วัดโพนทราย อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา หลวงพ่อแสน พระพุทธรูปไม้อันศักดิ์สิทธิ์ มีอายุนับร้อยป อ่านต่อ...
ห้าดาวหมี่โคราชพร้อมซอสผัดหมี่สำเร็จรูป ความเป็นมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2553 โดยการส อ่านต่อ...
อ่างเก็บน้ำลำสำลายอ่างเก็บน้ำลำสำลาย เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการชลประทานนครราชสีมา เนื่อ อ่านต่อ...
อำเภอปักธงชัย คำขวัญอำเภอ
ลำพระเพลิงน้ำใส ผ้าไหมเนื้องาม ข้าวหลามนกออก ถั่วงอกวังหม อ่านต่อ...